Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13530
Title: | ผลของการเสริมกาบกล้วยต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่ไข่ระยะไข่ |
Other Titles: | Effect of banana pseudostem supplementation on production performance of laying hens |
Authors: | มณฑิชา พุทซาคำ จักรพันธ์ นันทพงศ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วรินธร มณีรัตน์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการทรัพยากรเกษตร--วิทยานิพนธ์ ไข่--การผลิต |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการเสริมกาบกล้วยในอาหารต่ออัตราการให้ไข่ 2) ระดับการเสริมกาบกล้วยในอาหารต่อน้ำหนักไข่ 3) ระดับของการเสริมกาบกล้วยในอาหารต่อน้ำหนักไก่ไข่ และ 4) ต้นทุนค่าอาหารไก่ไข่ที่ได้รับอาหารเสริมกาบกล้วยระดับต่าง ๆ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ หน่วยทดลองคือไก่ไข่พันธุ์โรมันบราว์อายุ 62 สัปดาห์ จำนวน 90 ตัว ถูกสุ่มออกเป็น 3 ทรีตเมนต์ ทรีตเมนต์ละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว ไก่ไข่ทดลองแต่ละทรีตเมนต์ได้รับอาหารแตกต่างกันดังนี้ ทรีตเมนต์ที่ 1 ได้รับอาหารสำเร็จรูปทางการค้า (กลุ่มควบคุม) ทรีตเมนต์ที่ 2 และ 3 ได้รับอาหารสำเร็จรูปทางการค้าและกาบกล้วย 16.67 และ 37.50 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณอาหารที่กินต่อตัวต่อวัน ตามลำดับ วิเคราะห์ความแปรปรวนของข้อมูลและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่าง ทรีตเมนต์โดยวิธี Duncan’s New Multiple Range Test ผลการวิจัยพบว่า 1) อัตราการให้ไข่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยไก่ไข่ทรีตเมนต์ที่ 1 มีอัตราการให้ไข่สูงสุด และไก่ไข่ทรีตเมนต์ที่ 3 มีอัตราการให้ไข่ต่ำสุด 2) น้ำหนักไข่รวมและ น้ำหนักไข่เฉลี่ยต่อฟองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยทรีตเมนต์ที่ 1 มีน้ำหนักไข่รวมและน้ำหนักไข่เฉลี่ยต่อฟองสูงสุด ในขณะที่ทรีตเมนต์ที่ 3 มีน้ำหนักใข่รวมและน้ำหนักไข่เฉลี่ยต่อฟองต่ำสุด 3) ไก่ไข่ทรีตเมนต์ที่ 1 มีน้ำหนักเฉลี่ยต่อตัวที่สัปดาห์ที่ 4 และ 8 ของการทดลองแตกต่างจากทรีตเมนต์อื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในขณะที่ไก่ไข่ทรีตเมนต์ที่ 2 และ 3 มีน้ำหนักเฉลี่ยต่อตัวไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) 4) ทรีตเมนต์ที่ 1 มีต้นทุนค่าอาหารเฉลี่ยต่อตัวสูงสุด ในขณะที่ทรีตเมนต์ที่ 3 มีต้นทุนค่าอาหารเฉลี่ยต่อตัวต่ำสุด สำหรับต้นทุนค่าอาหารเฉลี่ยต่อไข่ 1 ฟองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยทรีตเมนต์ที่ 1 มีต้นทุนค่าอาหารเฉลี่ยต่อไข่ 1 ฟองต่ำสุด และทรีตเมนต์ที่ 3 มีต้นทุนค่าอาหารเฉลี่ยต่อไข่ 1 ฟองสูงสุด |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการทรัพยากรเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13530 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2589002191.pdf | 2.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.