กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13531
ชื่อเรื่อง: โซ่อุปทานการผลิตผักตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีแบบกลุ่มของวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตพืชปลอดภัยกรีนมาร์เก็ตพันเสา จังหวัดพิษณุโลก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Supply chain of vegetable production accordance with group certification of good agricultural practices standard of green market pansao community enterprise at Pisanulok Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปริชาติ ดิษฐกิจ
ศิริลักษณ์ แคน้อย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วนาลัย วิริยะสุธี
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการทรัพยากรเกษตร--วิทยานิพนธ์
ผัก--การผลิต--การควบคุมคุณภาพ
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี--ไทย--พิษณุโลก
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการกลุ่มและระบบควบคุมภายในของการผลิตผักตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีแบบกลุ่มของวิสาหกิจชุมชน 2) เพื่อศึกษาการจัดการการผลิตผักตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีแบบกลุ่มของวิสาหกิจชุมชน 3) เพื่อศึกษาการจัดการผลผลิตผักและการตลาดในรูปแบบซูเปอร์มาร์เก็ตของวิสาหกิจชุมชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1) เกษตรกร ประกอบด้วย ประธาน คณะกรรมการ และสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตพืชปลอดภัยกรีนมาร์เก็ตพันเสา ตำบลพันเสา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมดจำนวน 20 คน และ 2) เจ้าหน้าที่จัดซื้อของซูเปอร์มาร์เก็ต  เจ้าหน้าที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอบางระกำ  เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ ใช้สัมภาษณ์เกษตรกรเพื่อสำรวจข้อมูลพื้นฐานปัจจัยต่างๆ ต่อความต้องการขอรับรองแหล่งผลิต GAP พืชแบบกลุ่มเพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการสนทนา (Conversation)  และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เพื่อศึกษาหาข้อมูลเชิงลึก ในเรื่องปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขของกลุ่มโดยการระดมสมองและตัดสินใจร่วมกัน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ  และข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์โดยการจัดหมวดหมู่และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการกลุ่ม โดยมีโครงสร้างการบริหารหลุ่มและมีการประชุมสมาชิกในกลุ่ม1 ครั้งต่อเดือนเพื่อรายงานประสิทธิผลของการดำเนินการตามระบบควบคุมภายในอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และระบบควบคุมภายในมีการตั้งคณะทำงานภายในกลุ่ม และมีหน้าที่ของแต่ละคนตามตำแหน่งที่ได้รับมอบหมาย 2) การผลิตผักของเกษตรกรทุกรายเป็นไปตามมาตรฐานการผลิตพืชผักปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP แบบกลุ่ม ซึ่งมีการวางแผนการผลิตผักโดยผลิตผักหลายชนิด พืชหลักประมาณ 3-5 ชนิด และปริมาณผลผลิตผักสอดคล้องกับความต้องการของบริษัทรับซื้อ จากนั้นผลผลิตผักจะส่งไปยังโรงคัดบรรจุที่ได้มาตรฐาน GMP และ 3) ผลผลิตผักที่มายังโรงคัดบรรจุถูกไปไว้ในห้องที่สะอาดและสามารถลดความร้อนของผลผลิตผัก โดยมีขั้นตอนการจัดการผลผลิตผักตั้งแต่การคัดแยก การทำความสะอาด และการบรรจุหีบห่อ  จากนั้นขนสินค้าผักไปยังซูเปอร์มาร์เก็ตในจังหวัดพิษณุโลก และมีการสุ่มตรวจสินค้าเพื่อควบคุมตามมาตรฐานทุกวัน ส่วนสินค้าผักมี QR-Code บนบรรจุภัณฑ์เพื่อการตามสอบได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13531
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2599001332.pdf1.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น