กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13572
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการจัดการดินด้วยอินทรียวัตถุของเกษตรกรนาแปลงใหญ่ในตำบลเมืองนาท อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines of soil management with organic matter for paddy collaborative farmers in Muangnat Sub-district, Khamsakaesaeng District, Nakhon Ratchasima Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง
วชิรญา บำรุงกลาง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
การจัดการดิน--ไทย--นครราชสีมา
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพส่วนบุคคล สังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตข้าวและการจัดการดินของเกษตรกร 3) ความรู้และการปฏิบัติในการจัดการดินด้วยอินทรียวัตถุของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะการจัดการดินด้วยอินทรียวัตถุของเกษตรกร 5) ความต้องการและแนวทางการส่งเสริมการจัดการดินด้วยอินทรียวัตถุของเกษตรกรการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนาแปลงใหญ่ในตำบลเมืองนาท อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา ที่ขึ้นทะเบียนปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปีการผลิต 2565/66 จำนวน 186 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 127 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 72.4 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 55.63 ปี มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.95 คน จบประถมศึกษาและไม่มีตำแหน่งทางสังคม ร้อยละ 31.5 เป็นกลุ่มลูกค้า ธ.ก.ส. จำนวนสมาชิกในครัวเรือนและแรงงานจ้างที่ช่วยผลิตข้าวเฉลี่ย 2.76 คน และ 2.65 คน ตามลำดับ ต้นทุนในการผลิตข้าวเฉลี่ย 2,446.87 บาท/ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 369.37 กิโลกรัม/ไร่ รายได้เฉลี่ย 5,355.87 บาท/ไร่ 2) เกษตรกรมีประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 40.63 ปี ส่วนใหญ่ทำนาในที่ลุ่มและลักษณะเป็นดินร่วน ร้อยละ 70.1 ปลูกข้าวด้วยการหว่าน อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 21.48 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนมากใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชในแปลงนา และไม่พบการระบาดของโรค/แมลงศัตรูข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่มีการไถกลบตอซัง และใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสดในการปรับปรุงบำรุงดิน 3) เกษตรกรมีความรู้ในระดับมากที่สุดเกี่ยวกับการใช้อินทรียวัตถุในการผลิตข้าว มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการดินด้วยอินทรียวัตถุในระดับปานกลาง 4) เกษตรกรมีปัญหาในระดับปานกลาง อาทิ ขาดแคลนแรงงาน ขาดแคลนเงินทุน ต้องใช้ปริมาณมาก หาซื้อได้ยาก 5) เกษตรกรต้องการความรู้ในระดับมาก ได้แก่ การใช้ปุ๋ยคอกปรับปรุงบำรุงดิน การไถกลบตอซังปรับปรุงบำรุงดิน การปลูกพืชปุ๋ยสดปรับปรุงบำรุงดิน การเตรียมดิน การผลิตและการใช้ปุ๋ยหมักปรับปรุงบำรุงดิน และการวิเคราะห์ดินเบื้องต้นก่อนปลูกข้าว ต้องการรูปแบบการส่งเสริมผ่านสื่อบุคคลจากราชการ โดยการสาธิต ฝึกปฏิบัติ  และบรรยาย แนวทางการส่งเสริมการจัดการดินด้วยอินทรียวัตถุ โดยนักส่งเสริมการเกษตรถ่ายทอดความรู้ผ่านช่องทางและวิธีการที่เหมาะสม ได้แก่ การทำโปสเตอร์ การบรรยายร่วมกับการศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกษตรกรเกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น นำไปสู่การปรับปรุงบำรุงดินได้อย่างถูกต้อง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13572
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2649001985.pdf1.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น