กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13575
ชื่อเรื่อง: | การใช้งานแอปพลิเคชันของกรมพัฒนาที่ดินในการส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ ในสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Use of the department of land development's applications in agricultural extension among officers in the Land Development Office, Region 1 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ ชัชชษา ใหม่จีน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ กรมพัฒนาที่ดิน การส่งเสริมการเกษตร |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทั่วไปของเจ้าหน้าที่ 2) ความรู้ของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับแอปพลิเคชันของกรมพัฒนาที่ดิน 3) การใช้งานแอปพลิเคชันของกรมพัฒนาที่ดินในการส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ 4) ความคิดเห็นต่อการใช้แอปพลิเคชันของกรมพัฒนาที่ดินในการส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการใช้งานแอปพลิเคชันของกรมพัฒนาที่ดินในการส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรในการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ในพื้นที่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 และ สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัด ภายในสังกัดสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 (จำนวน 13 สถานี) ปี 2566 มีจำนวนทั้งหมด 263 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร่ ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวน 159 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จัดเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) เจ้าหน้าที่ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ตำแหน่งงานระดับพนักงานราชการ ซึ่งมีอายุราชการเฉลี่ย 12.35 ปี 2) เจ้าหน้าที่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้งานแอปพลิเคชันของกรมพัฒนาที่ดิน อยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีความรู้มากที่สุด คือ ระบบการโต้ตอบกับผู้ใช้งานด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อวางแผนการใช้ที่ดินสำหรับเกษตรกรรายแปลง หรือ AI Chatbot : คุยกับน้องดินดี สามารถให้ข้อมูลด้านการพัฒนาที่ดินอย่างสะดวก รวดเร็ว ตลอด 24 ชั่วโมง 3) การใช้งานแอปพลิเคชันของพัฒนาที่ดินในการส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ พบว่า เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ใช้งานแอปพลิเคชันระบบแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกออนไลน์ และใช้ชั้นข้อมูลของกรมพัฒนาที่ดินด้านการบริการ มีการได้รับประโยชน์จากการใช้แอปพลิเคชันของกรมพัฒนาที่ดินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) เจ้าหน้าที่เห็นด้วยกับการใช้แอปพลิเคชันของกรมพัฒนาที่ดินในการส่งเสริมการเกษตร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเห็นด้วยกับการนำไปใช้ในการส่งเสริมการเกษตร 5) เจ้าหน้าที่มีปัญหาในการพัฒนาการใช้งานแอปพลิเคชันของกรมพัฒนาที่ดินในการส่งเสริมการเกษตรในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหามากในด้านบุคลากร และมีข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการใช้งานแอปพลิเคชันของกรมพัฒนาที่ดินในด้านขั้นตอนการใช้งานแอปพลิเคชัน ได้แก่ ควรมีการทดสอบและตรวจสอบขั้นตอนการใช้งาน เพื่อนำไปเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน สร้างความรับรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังนำไปพัฒนาและปรับปรุงเกี่ยวกับการใช้งานแอปพลิเคชันต่อไป |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13575 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2649002199.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น