กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13594
ชื่อเรื่อง: | การใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรในอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Farmer registration database utilization in Phon Na Kaeo District of Sakon Nakhon Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุนันท์ สีสังข์ เตชินท์ พลอยวิเลิศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นารีรัตน์ สีระสาร |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ เกษตรกร--ไทย--สกลนคร |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรของเกษตรกรและหน่วยงาน 3) ความต้องการใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรของเกษตรกรและหน่วยงาน และ 4) ปัญหาและข้อเสนอในการส่งเสริมการใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรของเกษตรกรและหน่วยงาน การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้ คือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ประจำปี 2566 จำนวน 8,217 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเกษตรกรโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ค่าความคาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 200 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และหน่วยงานต่าง ๆ ในอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร จำนวน 16 หน่วยงาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2 ชุด สำหรับเกษตรกรและหน่วยงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรอายุเฉลี่ย 55.43 ปี ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม ทั้งหมดประกอบอาชีพทำนา พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 15.24 ไร่ 2) เกษตรกรเกือบทั้งหมดมีการใช้ข้อมูลประวัติส่วนตัว วัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นหลักฐานขอเข้าร่วมโครงการหน่วยงานภาครัฐ ขณะที่ประมาณ 2 ใน 3 ของหน่วยงานมีการใช้งานข้อมูลกิจกรรมการเกษตร วัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการจัดทำโครงการหรือแผนพัฒนา โดยส่วนใหญ่มีการขอรับบริการด้วยตนเอง ณ สำนักงานเกษตรอำเภอ และความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เหมือนกันทั้งเกษตรกรและหน่วยงาน 3) เกษตรกรมีความต้องการใช้งานข้อมูลประวัติส่วนตัวของเกษตรกรมากที่สุด โดยการขอรับบริการผ่านตัวแทนสำนักงานเกษตรอำเภอ ส่วนหน่วยงานมีความต้องการใช้งานข้อมูลกิจกรรมการเกษตรของเกษตรกรมากที่สุด การขอรับบริการโดยสามารถดาวน์โหลดข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ 4) ภาพรวมระดับปัญหาของเกษตรกรน้อยกว่าระดับปัญหาของหน่วยงาน โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ขาดความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการติดต่อขอรับข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ ส่วนหน่วยงานมีปัญหาเกี่ยวกับขั้นตอนการติดต่อหน่วยงานให้บริการขอรับข้อมูล เพราะมีหลายขั้นตอนและล่าช้า ทั้งเกษตรกรและหน่วยงานเสนอว่า รัฐบาลควรกำหนดวัตถุประสงค์หลักของการขึ้นทะเบียนและการใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลเกษตรกรให้ชัดเจน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13594 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2659000331.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น