กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13680
ชื่อเรื่อง: | การส่งเสริมการผลิตทุเรียนคุณภาพของเกษตรกรแปลงใหญ่ตำบลลำเลียง อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension of production of quality durian by collaborative farmers in Lam Liang Sub-district, Kra Buri District, Ranong Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พลสราญ สราญรมย์ อรุณวรรณ อินพาลำ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ทุเรียน--คุณภาพ |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทั่วไป สภาพทางทางสังคมและสภาพทางเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตทุเรียนคุณภาพของเกษตรกร 3) ความรู้ในการผลิตทุเรียนคุณภาพของเกษตรกร 4) ปัญหาการผลิตทุเรียนคุณภาพของเกษตรกร 5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตทุเรียนคุณภาพของเกษตรกรแปลงใหญ่ ตำบลลำเลียง อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ (1) เกษตรกรที่เป็นสมาชิกแปลงใหญ่ตำบลลำเลียง อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง จำนวนทั้งหมด 182 ราย กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน ที่ความคาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวน 126 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (2) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 ราย คัดเลือกแบบเจาะจงจากกลุ่มตัวอย่างที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตทุเรียนคุณภาพ ตำบลลำเลียง อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 51.20 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ระยะเวลาการเข้าร่วมกลุ่มแปลงใหญ่เฉลี่ย 5.36 ปี มีประสบการณ์การปลูกทุเรียนเฉลี่ย 12.29 ปี ใน พ.ศ. 2567 มีพื้นที่ปลูกทุเรียนเฉลี่ย 12.68 ไร่ มีรายได้จากการผลิตทุเรียนเฉลี่ย 253,619.05 บาทต่อปี มีต้นทุนการผลิตทุเรียนเฉลี่ย 162,105.37 บาทต่อปี (ในรอบปีการผลิต 2566) 2) เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกทุเรียนระยะ 8x8 เมตร มีการใส่ปุ๋ยและฮอร์โมนในทุกระยะการผลิตทุเรียน มีการทำระบบน้ำ มีการตัดแต่งทรงพุ่ม มีการตัดแต่งช่อดอก มีการเก็บเกี่ยวตามหลักมาตรฐาน มีการรับรอง GAP ไม่มีการแปรรูป ไม่มีตราสินค้า เกษตรกรนําทุเรียนไปจําหน่ายด้วยตัวเอง ซึ่งพ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนดราคาผลผลิต 3) เกษตรกรมีความรู้เรื่องการปลูกทุเรียนและการเก็บเกี่ยวและการจัดการสวนทุเรียนหลังการเก็บเกี่ยวอยู่ในระดับมาก และขาดความรู้เรื่องการชักนำการออกดอกและการจัดการสวนทุเรียนช่วงก่อนให้ผลผลิต 4) เกษตรกรพบปัญหาระดับมากในประเด็นในด้านการปลูกและการดูแลรักษา การจัดการต้นในระยะออกดอกถึงระยะก่อนการเก็บเกี่ยวและปัญหาในด้านแมลงศัตรูพืชและโรคพืช 5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตทุเรียนของเกษตรกร ได้แก่ การผลิตทุเรียนคุณภาพโดยเน้นการเพิ่มคุณภาพ ลดต้นทุน และการเพิ่มมูลค่า การถ่ายทอดความรู้ ในเรื่องการจัดการสวนทุเรียนช่วงก่อนให้ผลผลิต การชักนำการออกดอกและมาตรฐานการผลิตทุเรียน การสร้างอัตลักษณ์ในการผลิตทุเรียนของตำบล |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13680 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2659002030.pdf | 1.32 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น