กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13689
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยของเกษตรกรในจังหวัดภูเก็ต |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension guideline of safety vegetables production by farmers in Phuket Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บำเพ็ญ เขียวหวาน ยุพาภรณ์ ดำชู มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พลสราญ สราญรมย์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ผักปลอดสารพิษ--การปลูก |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพทางสังคม และสภาพทางเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการปลูกผักปลอดภัยของเกษตรกร 3) ความรู้ แหล่งความรู้ และความคิดเห็นเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยของเกษตรกร 4) ความต้องการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยของเกษตรกร 5) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ปัญหา ข้อเสนอแนะ และแนวทางการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยของเกษตรกร การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกผักในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 240 ราย จากการสำรวจสถานการณ์การปลูกพืชผักปีเพาะปลูก พ.ศ. 2565 การกำหนดกลุ่มตัวอย่างดังนี้ 1) กำหนดขนาดเกษตรกรผู้ปลูกผักตามสูตรทาโร ยามาเนที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ 150 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยวิธีจับสลาก 2) คัดเลือกเกษตรกรผู้แทนเกษตรกรผู้ปลูกผักจำนวน 10 ราย เพื่อทำการสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และประเด็นสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน สภาพแวดล้อมภายนอก และการจัดหมวดหมู่ข้อมูลการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 52.0 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 53.21 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการปลูกผักปลอดภัยเฉลี่ย 9.11 ปี ร้อยละ 60.5 เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร 2) เกษตรกรมีการเตรียมดินโดยมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ซื้อเมล็ดพันธุ์ผักจากร้านค้า มีการนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกเลย มีการเพาะกล้าพันธุ์ มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้มือถอนหรือจอบถากวัชพืชในแปลงปลูก มีการใช้แหล่งน้ำจากบ่อน้ำ และน้ำประปา มีการให้น้ำด้วยการใช้สายยาง ใช้สารธรรมชาติในการกำจัดศัตรูพืช การจัดการเก็บเกี่ยวโดยการดูสภาพความเหมาะสมของผัก และบรรจุลงในภาชนะตามขนาดที่กำหนด 3) เกษตรกรได้รับความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยระดับปานกลาง โดยตอบถูกต้องเฉลี่ย 5.16 ข้อ จาก 10 ข้อ การได้รับความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเกษตรกรได้รับจากสื่อกลุ่มมากที่สุด เกษตรกรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยอยู่ในระดับมากที่สุด 4) เกษตรกรมีความต้องการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะด้านการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ 5) จุดแข็งที่สำคัญคือ มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปลูกผัก จุดอ่อนคือ ผลผลิตมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โอกาสที่สำคัญคือ จังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวจึงมีตลาดรองรับผลผลิต อุปสรรคคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาในการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะด้านการส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยของเกษตรกร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านการผลิตมากที่สุด แนวทางการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัย ได้แก่ การจัดฝึกอบรมและศึกษาดูงานให้ความรู้เกษตรกร สนับสนุนการจำหน่ายผักในตลาดในชุมชนอย่างต่อเนื่อง และจัดทำเอกสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยแก่ผู้ที่สนใจ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13689 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2659002261.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น