Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13703
Title: แนวทางการพัฒนาการสื่อสารของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
Other Titles: Guidelines for communication development of community pest management centers’ member in Don Chedi District, Suphan Buri Province
Authors: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
พิสิษฐ์ จุสมใจ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลดอนเจดีย์--สมาชิก
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม และเศรษฐกิจของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (2) การได้รับความรู้จากสื่อต่าง ๆ ของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (3) สภาพการสื่อสารภายในและภายนอกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (4) ปัญหาในการสื่อสารภายในและภายนอกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน และ  (5) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารภายในและภายนอกของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน งานวิจัยเรื่องนี้ เป็นงานเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ สมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. 2566 จาก 5 ศูนย์ รวม 165 ราย กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 117 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) สมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ร้อยละ 61.54 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 61.63 ปี ร้อยละ 73.5 จบประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 37.87 ปี ร้อยละ 98.3 ใช้ช่องทางการสื่อสารทางโทรทัศน์ ระยะเวลาการเป็นสมาชิก ศจช. เฉลี่ย 8.05 ปี เข้ารับการอบรม/ประชุม/สัมมนา เฉลี่ย 4.54 ครั้ง/ปี ร้อยละ 82.91 ประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก ร้อยละ 17.95 มีอาชีพรองเลี้ยงสัตว์ รายได้ครัวเรือนจากภาคการเกษตร เฉลี่ย 166,399.62 บาทต่อปี 2) สมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนได้รับความรู้จากสื่อต่าง ๆ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้รับความรู้จากสื่อกระจายภาพและเสียงโดยโทรทัศน์มากที่สุด รองลงมาได้รับความรู้จากสื่อออนไลน์แอปพลิเคชันไลน์ 3) สภาพการสื่อสารภายในและภายนอกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนในภาพรวมมีการสื่อสารข้อมูลทั้งภายในและภายนอกอยู่ในระดับมาก โดยประเด็นที่มีการสื่อสารข้อมูลภายในมากที่สุด คือ ด้านสื่อหรือช่องทาง สมาชิกและกรรมการศูนย์ ศจช. สื่อสารกันผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Line, Facebook เป็นต้น และประเด็นที่มีการสื่อสารข้อมูลภายนอกมากที่สุด คือ ด้านสื่อหรือช่องทาง นักส่งเสริมการเกษตรมีการสื่อสารกับสมาชิก ศจช. โดยใช้สื่อออนไลน์แอปพลิเคชันเฟสบุ๊ค 4) ปัญหาการสื่อสารภายในและภายนอกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนในภาพรวมมีปัญหาการสื่อสารภายในและภายนอกอยู่ในระดับน้อย โดยประเด็นที่เป็นปัญหามากที่สุดในการสื่อสารภายใน คือ พูดอธิบายถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นไม่ถูกต้อง และประเด็นที่เป็นปัญหามากที่สุดในการสื่อสารภายนอก คือ ค่าอินเทอร์เน็ตมีราคาแพง 5) สมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนเห็นด้วยกับแนวทางการพัฒนาการสื่อสารภายในและภายนอกภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยประเด็นการพัฒนาการสื่อสารภายในที่เห็นด้วยมากที่สุด คือ สมาชิกและกรรมการศูนย์ ศจช. ตั้งใจฟังและเก็บประเด็นต่างๆ รองลงมาคือการแจ้งเตือนเนื้อหาการระบาดศัตรูพืชด้วยความรวดเร็ว และประเด็นในการพัฒนาการสื่อสารภายนอกที่เห็นด้วยมากที่สุด คือ นักส่งเสริมการเกษตรแจ้งเตือนเนื้อหาการระบาดศัตรูพืชด้วยความรวดเร็ว รองลงมาคือควรมีสื่อตัวอย่างของจริง เช่น ศัตรูพืช ศัตรูธรรมชาติ สำหรับใช้ในการทบทวนและเรียนรู้
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13703
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2659002691.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.