กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13744
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุนในธุรกิจผลิตน้ำดื่ม ตำบลดงใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Feasibility study of investing in drinking water, Dongyai Subdistrict, Phimai District in Nakhon Ratchasima Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อภิญญา วนเศรษฐ
ฐนิสา นาหมื่นไวย์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
อุตสาหกรรมน้ำดื่มบรรจุขวด--ไทย--นครราชสีมา--การลงทุน
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์  คือ  1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดของประชาชน ในเขตอำเภอพิมาย  2) เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินของการลงทุนในธุรกิจผลิตน้ำดื่มแห่งหนึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ การสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ จำนวน 4 คน และผู้บริโภคน้ำดื่ม จำนวน 100  คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากจำนวนประชากรในเขตตำบลดงใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา คือ 10,961 คน โดยอ้างอิงจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล  ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย นอกจากนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและเกณฑ์การตัดสินใจลงทุนใช้มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน และระยะเวลาคืนทุน ผลการศึกษาพบว่า (1)  กลุ่มตัวอย่างในเขตอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ให้ความสำคัญกับปัจจัย ด้านคุณภาพมากที่สุดในการตัดสินใจซื้อน้ำดื่ม รองลงมาคือด้านความสะดวก สีบรรจุภัณฑ์ ที่นิยมคือ สีฟ้า น้ำเงิน ขาว  วัสดุที่ใช้ผลิตที่นิยม คือ ขวด PET (ใส) และขวดแก้วใส ความถี่ในการซื้อน้ำดื่ม คือ 3 – 4 ครั้งต่อสัปดาห์   (2) ธุรกิจการผลิตน้ำดื่มแห่งหนึ่งในเขตตำบลดงใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีขนาดพื้นที่ 96 ตารางเมตร ต้นทุนการผลิตประกอบด้วย เงินลงทุนเริ่มแรกจำนวน 1,700,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน การตั้งราคาขายจะกำหนดราคาตามสภาวะการตลาด และต้องคำนึงถึงต้นทุนการผลิต การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินของธุรกิจการผลิตน้ำดื่ม มีข้อสมมติว่าอายุของโครงการ 10 ปี คือ ตั้งแต่ปี 2566 – 2575 โดยกำหนดให้อัตราดอกเบี้ยคิดลด คือ ร้อยละ 8.05 ต่อปี ผลการศึกษาพบว่า ธุรกิจการผลิตน้ำดื่มแห่งนี้ มีความคุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะเมื่อวิเคราะห์ความไหวตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของโครงการโดยกำหนดให้ 1) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นร้อยละ10 ส่วนรายได้คงที่ 2) รายได้ลดลงร้อยละ 10 ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานคงที่ และ 3) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และรายได้ลดลงร้อยละ 10   ธุรกิจการผลิตน้ำดื่มแห่งนี้ยังคงมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13744
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2666000431.pdf1.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น