กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13747
ชื่อเรื่อง: ผลของการพัฒนาพฤติกรรมป้องกันการใช้ยาเสพติดแกนนำเยาวชน อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of a drug use preventive behaviors development for youth leaders at Nongbunmak District, Nakhornratchasima Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล
ธีระวุฒิ ประดิษฐ์แท่น
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
ธีระวุธ ธรรมกุล
คำสำคัญ: การควบคุมยาเสพติด
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน--วิทยานิพนธ์
ยาเสพติด--การป้องกัน
การปรับพฤติกรรม
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการใช้ยาเสพติดและความรุนแรงของยาเสพติด การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมป้องกันการใช้ยาเสพติด การรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันการใช้ยาเสพติด และพฤติกรรมป้องกันการใช้ยาเสพติดของกลุ่มทดลอง ระหว่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรม และระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบหลังได้รับโปรแกรมการวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนแกนนำทูบีนัมเบอร์วัน ที่ไม่เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการใช้ยาเสพติดและมีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าศึกษา ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จากโรงเรียนหนองบุญมากพิทยาคมเป็นกลุ่มทดลอง และโรงเรียนหนองบุญมากประสงค์วิทยาเป็นกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันการใช้ยาเสพติดแกนนำเยาวชน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดแบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม 7 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด 3) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการใช้ยาเสพติด 4) การรับรู้ความรุนแรงของยาเสพติด 5) การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมป้องกันการใช้ยาเสพติด 6) การรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันการใช้ยาเสพติด และ 7) พฤติกรรมป้องกันการใช้ยาเสพติด แบบสอบถามส่วนที่ 2-7 มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา .96, 1.00, 1.00, .83, .85 และ .88 ตามลำดับ และมีค่าความเที่ยง .844, .962, .824, .951, .934 และ .924 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบที สถิติทดสอบวิลคอกซันแมทช์แพร์สซายน์แรงค์ และสถิติทดสอบแมนวิทนีย์ยูผลการวิจัยพบว่า หลังได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการใช้ยาเสพติดต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและกลุ่มเปรียบเทียบ มีการรับรู้ความรุนแรงของยาเสพติด การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมป้องกันการใช้ยาเสพติด การรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันการใช้ยาเสพติด และพฤติกรรมป้องกันการใช้ยาเสพติด สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและกลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13747
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2605100110.pdf2.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น