Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13769
Title: คุณสมบัติของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากเศษถ่านที่ใช้แล้วจากกระบวนการย่างไก่
Other Titles: Fuel briquette properties of  used charcoal residue from chicken grilling process
Authors: สิริรัตน์ สุวณิชย์เจริญ
วราพร พึ่งพรหม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อภิรดี ศรีโอภาส
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม--วิทยานิพนธ์
เชื้อเพลิงอัดแท่ง
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การนำเศษถ่านที่ใช้แล้วมาทำการอัดแท่งเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นการช่วยลดปัญหาด้านการจัดการของเสียเหลือทิ้ง ช่วยลดการตัดไม้และมลภาวะจากการผลิตถ่านไม้ งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตถ่านอัดแท่งจากเศษถ่านที่ใช้แล้วจากกระบวนการย่างไก่ และ 2) คุณสมบัติด้านเชื้อเพลิงของถ่านอัดแท่งจากเศษถ่านที่ใช้แล้วจากกระบวนการย่างไก่ การผลิตถ่านอัดแท่งดำเนินการโดยนำเศษถ่านไม้โกงกางที่ใช้ในกระบวนการย่างไก่ มาตากแดดให้แห้ง ร่อนด้วยตะแกรงขนาด 4 มิลลิเมตร เพื่อนำเศษขี้เถ้าออก และนำมาเข้าเครื่องบดถ่าน เศษถ่านที่บดละเอียดแล้วจะนำมาผสมกับแป้งมันสำปะหลัง ในอัตราส่วน ร้อยละ 5, 10 และ 20 ตามลำดับ เมื่อส่วนผสมเข้ากันดีแล้วจะนำไปอัดเป็นถ่านอัดแท่ง และนำไปตากแดด หลังจากนั้นจึงนำไปทดสอบคุณสมบัติด้านเชื้อเพลิงด้วยวิธีมาตรฐาน ได้แก่ ค่าความชื้น สารระเหย และเถ้า ใช้วิธีวิเคราะห์ ASTM D 7582 ถ่านคงตัว ใช้วิธีวิเคราะห์ ASTM D 3176 และค่าความร้อน ใช้วิธีวิเคราะห์ ASTM D 5865ผลการวิจัย พบว่า 1) อัตราส่วนที่เหมาะสมในการนำเศษถ่านเหลือทิ้งจากกระบวนการย่างไก่มาทำถ่านอัดแท่ง คือ ร้อยละ 5 เพราะเป็นอัตราส่วนที่ให้ค่าความร้อนสูงที่สุด (6,403 กิโลแคลอรี/กิโลกรัม) และ 2) การทดสอบคุณสมบัติด้านเชื้อเพลิงของถ่านอัดแท่งที่อัตราส่วน ร้อยละ 5, 10 และ20 ตามลำดับ พบว่า ค่าความร้อนสูงสุด เท่ากับ 6,403 , 6,140 และ 5,963 กิโลแคลอรี/กิโลกรัม สารระเหย เท่ากับ  ร้อยละ 25.62, 28.10 และ 28.81 ถ่านคงตัว เท่ากับ ร้อยละ 60.18, 55.50 และ 55.19 เถ้า เท่ากับร้อยละ 3.95, 3.68 และ 3.36 ผลการทดสอบดังกล่าว พบว่า ผ่านเกณฑ์การนำของเสียมาแปรรูปเป็นแท่งเชื้อเพลิงของกรมโรงงานอุตสาหกรรรม แต่ผลการทดสอบค่าความชื้น (ร้อยละ 10.24, 12.27 และ 12.63) พบว่า มีค่าเกินมาตรฐานเล็กน้อย (≤ ร้อยละ 8)
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13769
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2615000789.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.