กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13824
ชื่อเรื่อง: | ความคิดทางการเมืองตามทัศนะของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต) ผ่านหนังสือมองอเมริกามาแก้ปัญหาไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Political thought according to the views of Somdej Phra Buddhakosajarn (P.A.Payutto) through A book looking at America as solving Thai problems |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พิศาล มุกดารัศมี พระวิทยา เภรีพาส มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ธนศักดิ์ สายจำปา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองและการปกครอง--วิทยานิพนธ์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), 2481---ทัศนะทางการเมืองและสังคม |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวความคิดทางการเมืองของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ที่ปรากฏในหนังสือมองอเมริกามาแก้ปัญหาไทย (2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่มาของปัญหาทางสังคม การเมืองที่ปรากฏในหนังสือมองอเมริกามาแก้ปัญหาไทย (3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางแก้ปัญหาสังคม การเมือง ตามทัศนะของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ที่ปรากฏในหนังสือมองอเมริกา มาแก้ปัญหาไทยการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยเอกสาร โดยใช้แนวคิดการตีความวรรณกรรมซึ่งนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า (1) แนวความคิดทางการเมืองของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้รับอิทธิพลมาจากคำสอนทางพระพุทธศาสนาโดยตรง แนวความคิดทางการเมืองแบ่งออกได้เป็น 2 ประการ คือ แนวความคิดประการแรกมีคุณค่าทางด้านคุณธรรม จริยธรรม การเมืองจะต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อมนุษย์และสรรพสิ่ง คือก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และเป็นประโยชน์ต่อสังคม ประการที่สอง รูปแบบการปกครอง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เห็นว่าไม่ว่าจะเป็นการปกครองในรูปแบบใดก็ตามจะต้องอิงหลักธรรมมาใช้ จึงจะเป็นการปกครองที่ดีที่สุด ขณะที่ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่เป็นธรรมาธิปไตยคือการปกครองแบบคนดีหลายคน ดีกว่าการปกครองที่มีคนดีเพียงคนเดียว ถือว่าเป็นการปกครองที่ดีที่สุด (2) ด้านสภาพปัญหาสังคม การเมืองไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ เกิดจากการรับเอาวัฒนธรรมแนวคิดทางการเมืองต่างๆของตะวันตกมาปฏิบัติโดยไม่ได้คำนึงถึงรากฐานวัฒนธรรมของตนเอง (3) แนวทางในการแก้ไขปัญหาสังคม และการเมือง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เห็นว่าการกลับมาพัฒนาคนในสังคมให้อยู่บนพื้นฐานภูมิปัญญาวัฒนธรรมไทย สร้างจริยธรรมนักการเมือง และสร้างสรรค์ธรรมาธิปไตยให้เป็นพื้นฐานประชาธิปไตย คือ การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้เป็นหลักในการพัฒนาสังคม และการเมืองไทย |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13824 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2618001370.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น