Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13831
Title: Network Building to Solve Public Hazard Problems related to COVID-19 of the District Disease Control Operations Center Working Group : A Case Study of Tham Phannara District, Nakhon Si Thammarat Province.
การสร้างเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอ : กรณีศึกษาอำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช
Authors: SIRAWICH JEENYAY
สิรวิชญ์ จีนย้าย
Wornwaluncha Wattanadejpaisan
วรวลัญช์ วัฒนเดชไพศาล
Sukhothai Thammathirat Open University
Wornwaluncha Wattanadejpaisan
วรวลัญช์ วัฒนเดชไพศาล
[email protected]
[email protected]
Keywords: เครือข่าย การแก้ไขปัญหาสาธารณภัย ไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอ นครศรีธรรมราช
Network
Disaster resolution
Coronavirus 2019 (Covid-19)
District Disease Control Operations Center
Nakhon Si Thammarat
Issue Date:  1
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The purpose of this study was to investigate: 1) the network building to solve public hazard problems related to Covid-19 of the Disease Control Operations Center working group of Tham Phannara District, Nakhon Si Thammarat Province; 2) model for solving public hazard problems related to Covid-19 of the Disease Control Operations Center working group of Tham Phannara District, Nakhon Si Thammarat Province; and 3) problems and obstacles in solving public hazard problems related to Covid-19 of the Disease Control Operations Center working group of Tham Phannara District, Nakhon Si Thammarat Province.This qualitative study employed three sample groups. Specific sampling was used to select the participants. The first group consisted of the officials at the Disease Control Operations Center working group in Tham Phannara District. The second group was the private sector, including the network of volunteer foundations, village health volunteers, and factory workers. The third group included 17 residents. Data were collected using an in-depth interview, participant observation, and descriptive data analysis.The study found that 1) the network building to solve public hazard problems related to Covid-19 of the Disease Control Operations Center working group of Tham Phannara District, Nakhon Si Thammarat Province was the establishment of formal social networks according to orders, regulations, or the duties of the public, private, and people sectors, and informal networks from collaborative coordination among the public, private, and people sectors; 2) model to solve public hazard problems related to Covid-19 of the Disease Control Operations Center working group of Tham Phannara District was based on the emergency management cycle, consisting of preparation before the onset of the crisis, during the crisis with preparation planning, and post-crisis recovery assistance, resulting in two distinct characteristics: 2.1) vertical networks showing a hierarchical relationship characterized by top-down command and control; 2.2) With regards to horizontal networks showing a collaborative relationship based on equal cooperation; 3) problems and obstacles in solving public hazard problems related to Covid-19 of the Disease Control Operations Center working group of Tham Phannara District revealing, it was found that3.1) the problems and obstacles of government officials in delayed coordination of the public sector due to problems with documents; 3.2) the problems and obstacles of the private sector in coordination with the public sector in understanding the disease in the early stage and communication of employees in the private sector; and 3.3) the problems and obstacles of the people sector in accessing government agencies in the early stage of the outbreak.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การสร้างเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้าน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) รูปแบบของการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 3) ปัญหาอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอถ้ำพรรณราจังหวัดนครศรีธรรมราชการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มประชากรจำนวน 3 กลุ่ม โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เจ้าหน้าที่คณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอถ้ำพรรณรา กลุ่มที่ 2 ภาคเอกชน ได้แก่ เครือข่ายอาสาสมัครมูลนิธิ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และพนักงานโรงงาน กลุ่มที่ 3 ภาคประชาชน รวมจำนวนทั้งหมด 17 คน การเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์แบบ มีส่วน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1)การสร้างเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการสร้างเครือข่ายทางสังคมที่เป็นทางการ ตามคำสั่ง ระเบียบต่างๆ หรือหน้าที่ของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน และไม่เป็นทางการจากการให้ความร่วมมือการประสานงานของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน 2) รูปแบบของการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอถ้ำพรรณรา เป็นไปตามวงจรการแก้ไข้ปัญหาภาวะฉุกเฉิน ที่มีระยะก่อนเกิดภัย ในการเตรียมความพร้อม ขณะเกิดภัยตามที่มีการวางแผนเตรียมความพร้อม และภายหลังเกิดภัยที่มีการฟื้นฟูช่วยเหลือ ทำให้เกิด 2 ลักษณะ คือ 2.1) เครือข่ายตามแนวตั้ง ที่ตัวแสดงมีความสัมพันธ์กันแบบสายบังคับบัญชาในลักษณะจากการบังคับบัญชาบนลงล่าง 2.2) เครือข่ายตามแนวราบ ที่ตัวแสดงมีความสัมพันธ์กันในแบบความร่วมมือ ที่มีความเท่าเทียมกัน 3) ปัญหาอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอถ้ำพรรณรา พบว่า 3.1)ปัญหาอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ในการประสานงานของรัฐที่ล่าช้าติดปัญหาเรื่องเอกสาร 3.2) ปัญหาอุปสรรคของภาคเอกชน ในการประสานงานกับภาครัฐในความเข้าใจเกี่ยวกับโรคในช่วงแรก และการสื่อสารของพนักงานในภาคเอกชน 3.3) ปัญหาอุปสรรคของภาคประชาชน ที่เข้าไม่ถึงหน่วยงานภาครัฐในระยะแรกของการแพร่ระบาด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13831
Appears in Collections:Pol-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2638000279.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.