กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13831
ชื่อเรื่อง: | การสร้างเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอ : กรณีศึกษาอำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Network building to solve public hazard problems related to COVID-19 of the District Disease Control Operations Center Working Group : a case study of Tham Phannara District, Nakhon Si Thammarat Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรวลัญช์ วัฒนเดชไพศาล สิรวิชญ์ จีนย้าย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ธโสธร ตู้ทองคำ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองและการปกครอง--วิทยานิพนธ์ คณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอถ้ำพรรณรา การบรรเทาสาธารณภัย--ไทย--นครศรีธรรมราช การระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020- |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การสร้างเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้าน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) รูปแบบของการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 3) ปัญหาอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอถ้ำพรรณราจังหวัดนครศรีธรรมราชการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มประชากรจำนวน 3 กลุ่ม โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เจ้าหน้าที่คณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอถ้ำพรรณรา กลุ่มที่ 2 ภาคเอกชน ได้แก่ เครือข่ายอาสาสมัครมูลนิธิ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และพนักงานโรงงาน กลุ่มที่ 3 ภาคประชาชน รวมจำนวนทั้งหมด 17 คน การเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์แบบ มีส่วน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1)การสร้างเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการสร้างเครือข่ายทางสังคมที่เป็นทางการ ตามคำสั่ง ระเบียบต่างๆ หรือหน้าที่ของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน และไม่เป็นทางการจากการให้ความร่วมมือการประสานงานของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน 2) รูปแบบของการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอถ้ำพรรณรา เป็นไปตามวงจรการแก้ไข้ปัญหาภาวะฉุกเฉิน ที่มีระยะก่อนเกิดภัย ในการเตรียมความพร้อม ขณะเกิดภัยตามที่มีการวางแผนเตรียมความพร้อม และภายหลังเกิดภัยที่มีการฟื้นฟูช่วยเหลือ ทำให้เกิด 2 ลักษณะ คือ 2.1) เครือข่ายตามแนวตั้ง ที่ตัวแสดงมีความสัมพันธ์กันแบบสายบังคับบัญชาในลักษณะจากการบังคับบัญชาบนลงล่าง 2.2) เครือข่ายตามแนวราบ ที่ตัวแสดงมีความสัมพันธ์กันในแบบความร่วมมือ ที่มีความเท่าเทียมกัน 3) ปัญหาอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอถ้ำพรรณรา พบว่า 3.1)ปัญหาอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ในการประสานงานของรัฐที่ล่าช้าติดปัญหาเรื่องเอกสาร 3.2) ปัญหาอุปสรรคของภาคเอกชน ในการประสานงานกับภาครัฐในความเข้าใจเกี่ยวกับโรคในช่วงแรก และการสื่อสารของพนักงานในภาคเอกชน 3.3) ปัญหาอุปสรรคของภาคประชาชน ที่เข้าไม่ถึงหน่วยงานภาครัฐในระยะแรกของการแพร่ระบาด |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13831 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2638000279.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น