Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13839
Title: | การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการแก้ปัญหาขยะพลาสติกล้นเมือง ของเทศบาลเมืองกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง |
Other Titles: | Participation of the public sector in solving the problem of excessive plastic waste in the cityof Kantang Municipality, Kantang District, Trang Province |
Authors: | วรวลัญช์ วัฒนเดชไพศาล ผลิดา ชุมทอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี ขยะพลาสติก--ไทย--ตรัง ขยะและการกำจัดขยะ--การมีส่วนร่วมของประชาชน การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)ปัญหาขยะพลาสติกล้นเมืองของเทศบาลเมืองกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง 2)การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการแก้ปัญหาขยะพลาสติกล้นเมืองของเทศบาลเมืองกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง 3)ปัจจัยของความสำเร็จของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการแก้ปัญหาขยะพลาสติกล้นเมืองของเทศบาลเมืองกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรังการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรมีทั้งหมด 3 กลุ่ม ได้แก่ 1)นายกเทศมนตรีเมืองกันตัง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ผู้อำนวยการกองช่าง 2)ประธานชุมชนป่าไม้ ประธานอาสาสมัครสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนในทอน 3)ประชาชนผู้มีส่วนร่วม โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง รวม 12 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบเก็บเอกสาร แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูล เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1)ปัญหาขยะพลาสติกล้นเมืองของเทศบาลเมืองกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เกิดจาก 1.1)การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรแฝงและแรงงานต่างด้าว 1.2)พฤติกรรมการบริโภคของประชาชนนิยมใช้บริการสั่งสินค้าออนไลน์และสั่งอาหารช่วงสถานการณ์เกิดโรคระบาดโควิด 19 1.3)ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองกันตังขาดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง 2)การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการแก้ปัญหาขยะพลาสติกล้นเมืองของเทศบาลเมืองกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง มี 4 ขั้นตอนได้แก่ 2.1)การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมคิดริเริ่มและแก้ปัญหาโครงการครอบคลุมถึงการตัดสินใจระหว่างการดำเนินโครงการ 2.2)การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการให้ประชาชนลงมือปฏิบัติในกิจกรรมร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน 2.3)การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ โดยประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจจากการคัดแยกขยะและครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น 2.4) การมีส่วนร่วมในการประเมินผลโดยร่วมกันประเมินผลโครงการที่ผ่านมา ประชาชนได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ 3)ปัจจัยของความสำเร็จของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการแก้ปัญหาขยะพลาสติกล้นเมืองของเทศบาลเมืองกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง มี 3 ปัจจัยได้แก่ 3.1)ต้นทาง เป็นการสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนคัดแยกขยะจากต้นทาง 3.2)กลางทาง เป็นการมีระบบการเก็บขนขยะที่มีประสิทธิภาพลำเลียงขยะไปส่งยังสถานที่กำจัดขยะ 3.3)ปลายทาง เป็นการกำจัดขยะที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่น การฝังกลบ การเผา เป็นต้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13839 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2648000400.pdf | 4.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.