Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13840
Title: | เลขที่บัตรประจำตัวประชาชนกับอำนาจในการนิยามและจำแนกความเป็นพลเมือง |
Other Titles: | National ID card number and the power to define and classify citizenship |
Authors: | พิศาล มุกดารัศมี สุธาสินี อิ่มสมบัติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี บัตรประชาชน--แง่สังคม พลเมืองไทย การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้และวิธีการในการจำแนกพลเมืองของรัฐผ่านเลขบัตรประจำตัวประชาชน 2) เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิทธิพลเมืองในการที่รัฐให้เลขหลักที่หนึ่งในบัตรประจำตัวประชาชนแตกต่างกันการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับคนในบังคับสยาม แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) เลขที่บัตรประจำตัวประชาชนมีความเชื่อมโยงกับอำนาจในการนิยามและจำแนกความเป็นพลเมือง ปรากฎรากฐานแนวคิดความเป็นคนใต้ปกครอง ตั้งแต่รูปแบบรัฐจารีต ผ่านการจำแนกคนใต้ปกครองผ่านฐานะทางสังคมเพื่อแบ่งสถานะทางสังคม วิธีการสักเลกผ่านทางร่างกายเพื่อใส่ในชุดความคิดที่จำแนกคนใต้ปกครองแบ่งเป็น ไพร่ ทาส ทำให้รัฐสอดส่องดูแลคนใต้ปกครองในบังคับสยามได้ง่าย มีการพัฒนาแนวคิดการจำแนกพลเมืองจนถึงยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม อุดมการณ์ชาตินิยมเป็นที่มาการปลูกฝังความเป็นไทยให้แก่พลเมืองไทยทุกคน สร้างมาตรฐานความเป็นไทย ได้เริ่มต้นการใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อใช้ในการระบุตัวตน เป็นแนวคิดของรัฐสมัยใหม่ในการสอดส่องดูแลคนใต้ปกครอง เป็นเครื่องมือของรัฐในการปกครองพลเมือง เพื่อให้พลเมืองได้ดำเนินการตามเป้าหมายของรัฐ เช่น เพื่อความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ การเมือง เช่น การจ่ายภาษีอากร 2) รัฐจำแนกคนใต้ปกครองผ่านระบบเลขหลักที่หนึ่งบนบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อมีเลขหลักที่หนึ่งแตกต่างกันส่งผลกระทบต่อสิทธิพลเมือง โดยเลขหลักที่หนึ่งขึ้นต้นด้วยเลข 1,2,3,4,5 เป็นพลเมืองไทยมีสิทธิสวัสดิการตามที่รัฐกำหนด มีสิทธิได้รับการศึกษา ได้รับบริการสาธารณสุข มีสิทธิในการเลือกตั้งและมีส่วนร่วมทางการเมือง มีสิทธิในการจัดการทรัพยากรในชุมชน มีสิทธิในการประกอบอาชีพ มีสิทธิในชีวิตและร่างกาย มีสิทธิในการเลือกนับถือศาสนา ได้รับสวัสดิการตามที่รัฐกำหนด เช่น รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เงินซ่อมบ้านคนพิการ เป็นต้น โดยเลขหลักที่หนึ่งขึ้นต้นด้วยเลข 6,7,8 เป็นคนต่างด้าว จึงไม่ได้รับสิทธิ ไม่ได้รับการศึกษา ไม่ได้รับบริการสาธารณสุข หากต้องการรักษาพยาบาลต้องซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติม ไม่มีสิทธิในการเลือกตั้ง และไม่ได้รับสวัสดิการอื่น ยกเว้นเลขหลักที่หนึ่งขึ้นต้นด้วย 8 หากแปลงสัญชาติเป็นคนไทยจะได้รับสิทธิและสวัสดิการเหมือนพลเมืองไทยทุกประการ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13840 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2648000434.pdf | 2.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.