Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13844
Title: | การจัดสรรที่ดินกับอัตลักษณ์ของชนชาติพันธุ์ขมุ |
Other Titles: | Land allocation and the utilization identity of The Khamu |
Authors: | ขจรศักดิ์ สิทธิ ณรงฤทธิ์ ศาสตรา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ธนศักดิ์ สายจำปา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองและการปกครอง--วิทยานิพนธ์ การจัดสรรที่ดิน--ไทย--อุทัยธานี ขมุ--ที่อยู่อาศัย |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์นโยบายการจัดสรรที่ดินทำกินโดยรัฐกับความเหมาะสมในบริบทของชนชาติพันธุ์ขมุ บ้านหินตุ้ม อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี (2) เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากนโยบายการจัดสรรที่ดินทำกินโดยรัฐ ที่มีต่ออัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ อัตลักษณ์การเมือง ของชนชาติพันธุ์ขมุบ้านหินตุ้ม อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ชนชาติพันธุ์ขมุ 24 คน ที่อาศัยอยู่บริเวณหมู่บ้านหินตุ้ม หมู่บ้านห้วยป่าปก (อีหลุบ) หมู่บ้านห้วยหนามตะเข้ (อีหลุบเหนือ) และเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 3 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) นโยบายการจัดสรรที่ดินทำกินโดยรัฐยังไม่เหมาะสมกับบริบทของชนชาติพันธุ์ขมุบ้านหินตุ้ม อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เนื่องจากการจัดสรรที่ดินยังไม่เพียงพอต่อชีวิตของชนชาติพันธุ์ขมุ นอกจากนี้ ชนชาติพันธุ์ขมุยังไม่ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการดำเนินงาน และนโยบายที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน ซึ่งทำให้เกิดความไม่มั่นคงในการประกอบอาชีพ การจัดการทรัพยากรน้ำและปัญหาจากการรุกรานจากสัตว์ป่ายังไม่ได้รับการช่วยเหลือเพียงพอจากรัฐ ซึ่งส่งผลให้ชุมชนต้องดูแลแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ขาดการร่วมมือจากรัฐในการแก้ไขปัญหาในระดับชุมชนได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากเกิดความขัดแย้งทางด้านการจัดสรรทรัพยากร การสื่อสารที่บกพร่องระหว่างรัฐกับชนชาติพันธุ์ขมุและประกอบไปด้วยชนชาติพันธุ์ขมุไม่มีความเข้าใจและสร้างการรับรู้ต่อนโยบายของรัฐ จึงเกิดการไม่เข้าร่วมกับนโยบายของรัฐ (2) ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากนโยบายการจัดสรรที่ดินทำกินโดยรัฐ ที่มีต่ออัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ อัตลักษณ์การเมือง ของชนชาติพันธุ์ขมุ บ้านหินตุ้ม อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี พบว่า วาทกรรม “ชาวเขาทำไร่เลื่อนลอย” พลวัตรของการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคโลกภิวัตน์ รายได้ในครัวเรือนและชุมชนหมุนเวียนลดลง เกิดปัญหาการไปทำงานพลัดถิ่น ส่งผลให้อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์อาจจะเกิดการเสื่อมสลาย ด้วยการถูกกลืนจากสังคมเมือง |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13844 |
Appears in Collections: | Pol-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2648001051.pdf | 1.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.