กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13844
ชื่อเรื่อง: The Land Allocation and The Utilization Identity of The Khamu
การจัดสรรที่ดินกับอัตลักษณ์ของชนชาติพันธุ์ขมุ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: NARONGRIT SASTRA
ณรงฤทธิ์ ศาสตรา
Khajornsak Sitthi
ขจรศักดิ์ สิทธิ
Sukhothai Thammathirat Open University
Khajornsak Sitthi
ขจรศักดิ์ สิทธิ
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: การจัดสรรที่ดิน ชนชาติพันธุ์ขมุ อัตลักษณ์ชาติพันธุ์
The land allocation
the Khamu
Group Ethnic Identity
วันที่เผยแพร่:  17
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: The objectives of this research were to (1) analyze the system or policy of Government allocation of agricultural land in relation to its appropriateness within the context of the Khamu community in Hin Tum village, Ban Rai District, Uthai Thani Province; and (2) study the impact of the government's agricultural land allocation system or policy on the ethnic identity and political identity of the Khamu in Hin Tum village, Ban Rai District, Uthai Thani Province.                  The study employed qualitative research method. The key informants consisted of 24 members of the Khamu residing in the areas of Hin Tum village, Huay Pah Pok village (Ee Lhup) and Huay Nam Tam Takheo village (Ee Lhup Nuea) and 3 government officials.                  The study found that (1) the government's land allocation policy was unsuitable for the context of the Khmu in Hin Tum village, Ban Rai District, Uthai Thani Province. The allocated land was insufficient for their livelihoods, moreover the Khmu people were not involved in the operation plan and the policy-making process. As such they are not made to meet with their community's context. This led to the issues of livelihood insecurity, insufficient water resource management, and inadequate assistance with wildlife encroachment. Consequently, the community had todeal with the issues by itself. Furthermore, there was a lack of cooperation between the state and the community due to resource allocation conflicts and communication breakdowns. The Khmu community did not fully understand or engage with state policies, leading to non-participation. (2) The study also found that the discourse of "hill tribes practicing shifting cultivation" was outdated. With globalization, and the decreasing household and community income has resulted in labor migration.  Therefore  it is likely that ethnic identity would cease existence, as it risked being absorbed into urban society.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์นโยบายการจัดสรรที่ดินทำกินโดยรัฐกับความเหมาะสมในบริบทของชนชาติพันธุ์ขมุ บ้านหินตุ้ม อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี  (2) เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากนโยบายการจัดสรรที่ดินทำกินโดยรัฐ ที่มีต่ออัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ อัตลักษณ์การเมือง ของชนชาติพันธุ์ขมุบ้านหินตุ้ม อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี                วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ชนชาติพันธุ์ขมุ 24 คน ที่อาศัยอยู่บริเวณหมู่บ้านหินตุ้ม หมู่บ้านห้วยป่าปก (อีหลุบ) หมู่บ้านห้วยหนามตะเข้ (อีหลุบเหนือ) และเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 3 คน               ผลการวิจัยพบว่า (1) นโยบายการจัดสรรที่ดินทำกินโดยรัฐยังไม่เหมาะสมกับบริบทของชนชาติพันธุ์ขมุบ้านหินตุ้ม อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เนื่องจากการจัดสรรที่ดินยังไม่เพียงพอต่อชีวิตของชนชาติพันธุ์ขมุ นอกจากนี้ ชนชาติพันธุ์ขมุยังไม่ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการดำเนินงาน และนโยบายที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน ซึ่งทำให้เกิดความไม่มั่นคงในการประกอบอาชีพ การจัดการทรัพยากรน้ำและปัญหาจากการรุกรานจากสัตว์ป่ายังไม่ได้รับการช่วยเหลือเพียงพอจากรัฐ ซึ่งส่งผลให้ชุมชนต้องดูแลแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ขาดการร่วมมือจากรัฐในการแก้ไขปัญหาในระดับชุมชนได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากเกิดความขัดแย้งทางด้านการจัดสรรทรัพยากร การสื่อสารที่บกพร่องระหว่างรัฐกับชนชาติพันธุ์ขมุและประกอบไปด้วยชนชาติพันธุ์ขมุไม่มีความเข้าใจและสร้างการรับรู้ต่อนโยบายของรัฐ จึงเกิดการไม่เข้าร่วมกับนโยบายของรัฐ (2) ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากนโยบายการจัดสรรที่ดินทำกินโดยรัฐ ที่มีต่ออัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ อัตลักษณ์การเมือง ของชนชาติพันธุ์ขมุ บ้านหินตุ้ม อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี พบว่า วาทกรรม “ชาวเขาทำไร่เลื่อนลอย” พลวัตรของการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคโลกภิวัตน์ รายได้ในครัวเรือนและชุมชนหมุนเวียนลดลง เกิดปัญหาการไปทำงานพลัดถิ่น ส่งผลให้อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์อาจจะเกิดการเสื่อมสลาย ด้วยการถูกกลืนจากสังคมเมือง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13844
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2648001051.pdf1.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น