กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13855
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมของข้าราชการไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal issues regarding conflicts between personal and public interests of Thai Civil Servants
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัคเดช มโนลีหกุล
กฤษฎา วังซ้าย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การขัดกันแห่งผลประโยชน์
กฎหมายผลประโยชน์สาธารณะ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีทางกฎหมายเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมของข้าราชการไทย (2) ศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมของข้าราชการในประเทศไทย (3) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมระหว่างประเทศไทย สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐสิงคโปร์ และเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (4) ผู้ศึกษาจึงเห็นควรเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมของข้าราชการไทยการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร จากตัวบทกฎหมาย หนังสือ ตำรา วารสาร งานวิจัย บทความและเอกสารวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมของข้าราชการผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดทางกฎหมายเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ของการพิจารณาการขัดกันเอาไว้ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ 2003 ที่ส่งเสริมและเสริมสร้างมาตรการในการป้องกันและต่อต้านการทุจริตให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น (2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ได้บัญญัติเรื่องของการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งยังเกิดปัญหาในการบังคับใช้ในเรื่องของการตีความและหลักเกณฑ์ในการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของคู่สมรสและการให้ตามประเพณี (3) การเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐสิงคโปร์ และเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนพบว่า ประเทศไทยควรมีการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายโดยนำเอาแนวคิดของสาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐสิงคโปร์ และเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนมาปรับใช้ในเรื่องการกำหนดเกณฑ์การให้และรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของข้าราชการ (4) เสนอแนะให้มีการออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. 2567 โดยกำหนดหลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดตามประเพณีของเจ้าพนักงานของรัฐ และผู้ซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสอันถือว่าเป็นคู่สมรสเพื่อเป็นหลักเกณฑ์และแนวทางในการตีความเรื่องการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวในประเทศไทยต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13855
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2644000966.pdf1.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น