กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13886
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา จังหวัดชุมพร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting mathematical literacy of grade 9 studentsat Saard Phaderm Wittaya School in Chumphon Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุรีรัตน์ อารีรักษ์สกุล ก้องโลก อรณัชชา ชาญเชาว์, 2535- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วินิจ เทือกทอง |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--วิทยานิพนธ์ ความสามารถทางคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--ไทย--ชุมพร |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถด้านตัวเลขนิสัยการเรียน และเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ กับความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา จังหวัดชุมพร และ 2) สร้างสมการพยากรณ์ความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา จังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร จำนวน 120 คน กำหนดขนาดโดยใช้โปรแกรม G* Power 3.1 และสุ่มแบบแบ่งชั้นตามโปรแกรมการเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดความสามารถด้านตัวเลข แบบสอบถามนิสัย การเรียน แบบวัดเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทำนายทั้ง 3 ตัวแปร คือ ความสามารถด้านตัวเลข เจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ และนิสัยการเรียน กับตัวแปรตาม คือ ความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ รวม 3 คู่ พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แต่ละคู่มีค่าอยู่ที่ .592 .510 และ .435 ตามลำดับ แสดงว่า ตัวแปรแต่ละคู่ มีความสัมพันธ์ทางบวก ขนาดความสัมพันธ์สูง และมีอยู่จริงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ตัวแปรความสามารถด้านตัวเลข เจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ และนิสัยการเรียนร่วมกันอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ ได้เท่ากับ 42.3% โดยสมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเพื่อพยากรณ์ความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา จังหวัดชุมพร |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13886 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.43 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License