กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13907
ชื่อเรื่อง: | แนวทางส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษของสมาชิกเครือข่ายจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension guidelines for non-toxic farming by members of the Buddhist Dhamma medicine volunteer network |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บำเพ็ญ เขียวหวาน ภัคธร คุ้มกิตติพร, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พลสราญ สราญรมย์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ เกษตรอินทรีย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพสังคม และสภาพเศรษฐกิจของสมาชิกเครือข่ายจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม 2) ความรู้และแหล่งความรู้เกี่ยวกับกสิกรรมไร้สารพิษของสมาชิกเครือข่ายจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม 3) ความคิดเห็นและความพึงพอใจที่มีต่อกสิกรรมไร้สารพิษของสมาชิก 4) การทำกสิกรรมไร้สารพิษของสมาชิก 5) ปัญหา ข้อเสนอแนะ และแนวทางส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษของสมาชิกเครือข่ายจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม ประชากรในการวิจัยคือสมาชิกเครือข่ายจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมของมูลนิธิแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย ณ ปี พ.ศ. 2564 จำนวน 500 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร ยามาเน ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้จำนวน 145 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลาก และทำการคัดเลือกสมาชิกเครือข่ายจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมแบบเจาะจง จำนวน 12 คนเพื่อทำการสนทนากลุ่ม รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและประเด็นการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกขององค์กร ผลการวิจัย พบว่า 1) สมาชิกเครือข่ายจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม มีอายุเฉลี่ย 54.65 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม การทำกสิกรรมไร้สารพิษทำให้ลดรายจ่ายค่าอาหารเฉลี่ย 2,181.86 บาท/ปี และลดรายจ่ายค่าของใช้เฉลี่ย 1,575.19 บาท/ปี 2) ความรู้เกี่ยวกับกสิกรรมไร้สารพิษของสมาชิกเครือข่ายจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมอยู่ในระดับมาก และแหล่งความรู้ ได้รับจากสื่อสารมวลชนและสื่อออนไลน์ในระดับมากที่สุด 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจเกี่ยวกับการส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกันโดยเฉพาะประเด็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำกสิกรรมไร้สารพิษ 4) สมาชิกมากกว่าร้อยละ 90 มีการทำตามหลักการทำกสิกรรมไร้สารพิษ โดยข้อที่ทำน้อยกว่าข้ออื่นคือ การทำแหล่งกักเก็บน้ำและการตรวจสอบเมล็ดพันธุ์ที่สมบรณ์ 5) ปัญหาของสมาชิกส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อย ปัญหาสำคัญคือ ไม่มีที่ดิน ส่วนข้อเสนอแนะมีประเด็นสำคัญคือ ควรจัดกิจกรรมของกลุ่มกสิกรรมไร้สารพิษและแนวทางส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษของสมาชิกเครือข่ายจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม ได้แก่ การส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษแบบบูรณาการกับสุขภาพและหลักธรรมะ การพัฒนารูปแบบสื่อส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษให้เข้าถึงได้ง่าย การสนับสนุนการรวมกลุ่มทำกสิกรรมไร้สารพิษ และการส่งเสริมการตลาดวิถีธรรมแบบมีส่วนร่วม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13907 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.17 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License