กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13921
ชื่อเรื่อง: การดำเนินคดีอาญาในความผิดต่อส่วนตัวศึกษาเฉพาะการปฏิเสธไม่รับคำร้องทุกข์นอกเขตอำนาจการสอบสวน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Criminal prosecution for personal offenses studying in case of the refusal to accept a petition outside the jurisdiction
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงษ์สิทธิ์ อรุณรัตนากุล
รตานรี แก้วจรูญ, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
การร้องทุกข์ (วิธีพิจารณาความอาญา)
การพิจารณาและตัดสินคดี (ความผิดต่อบุคคล)
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาหลักการดำเนินคดีอาญาในความผิดต่อส่วนตัวและหลักการสอบสวนคดีอาญา (2) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศไทยกับกฎหมายของประเทศอินเดีย และสหพันธรัฐเยอรมัน (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิเสธไม่รับคำร้องทุกข์นอกเขตอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน (4) เสนอแนะ แนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการปฏิเสธไม่รับคำร้องทุกข์นอกเขตอำนาจการสอบสวน การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้เป็นการวิจัยคุณภาพโดยการวิจัยเอกสาร จากการศึกษาวิเคราะห์ แนวคิด ทฤษฎี กฎหมายที่เกี่ยวข้องจากตำรากฎหมาย บทความ วิทยานิพนธ์ วารสารทางวิชาการ รายงานวิจัย และฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ โดยนำมาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการเสนอแนะแก้ไขปัญหาการปฏิเสธไม่รับคำร้องทุกข์นอกเขตอำนาจการสอบสวน ผลการศึกษาพบว่า (1) การดำเนินคดีอาญาในความผิดต่อส่วนตัว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดให้ผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน การร้องทุกข์จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาล อันเป็นการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ (2) การร้องทุกข์ตามกฎหมายไทยยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องเขตอำนาจหน้าที่ในการรับคำร้องทุกข์ของพนักงานสอบสวน เปรียบเทียบกับสหพันธรัฐเยอรมันที่กำหนดให้ผู้เสียหายสามารถร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและพนักงานอัยการได้โดยทั่วไปไม่จำกัดเรื่องเขตอำนาจการสอบสวน และประเทศอินเดียผู้เสียหายสามารถร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจทางโทรศัพท์และทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ (3) การปฏิเสธไม่รับคำร้องทุกข์นอกเขตอำนาจการสอบสวนมีสาเหตุมาจากบทบัญญัติกฎหมายที่ไม่ชัดเจน มีช่องว่างให้พนักงานสอบสวนสามารถใช้ดุลพินิจได้โดยมิชอบ กล่าวคือ พนักงานสอบสวนอาจปฏิเสธไม่รับคำร้องทุกข์นอกเขตอำนาจการสอบสวน (4) เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการประกันสิทธิในการริเริ่มดำเนินคดีอาญาของผู้เสียหายให้ทั่วถึงและเป็นธรรม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13921
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons