กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13923
ชื่อเรื่อง: | มาตรการที่เหมาะสมในการซักถามเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้เสียหายหรือพยานในระหว่างการสอบสวนคดีอาญา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Appropriate measures for the questioning of children and juveniles who are victims or witnesses during criminal investigation |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณวิภา เมืองถ้ำ รัตนาภรณ์ จุลหนองใหญ่, 2534- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี วิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับการซักถามเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้เสียหายหรือพยานในระหว่างการสอบสวนคดีอาญา (2) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศไทย กับกฎหมายของประเทศอังกฤษ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศญี่ปุ่นในเรื่องของการซักถามเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้เสียหายหรือพยานในระหว่างการสอบสวนคดีอาญา (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายของมาตรการทางกฎหมายในการซักถามเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้เสียหายหรือพยานในระหว่างการสอบสวนคดีอาญา ตามกฎหมายของไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศอังกฤษ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศญี่ปุ่น (4) ศึกษาหาแนวทางแก้ไขพัฒนากระบวนการซักถามเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้เสียหายหรือพยานในระหว่างการสอบสวนคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 133 ทวิ ให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลจากตำรา บทความวิชาการ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ระเบียบ คำสั่ง รวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ และนำมาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า (1) สิทธิของเด็กไม่ว่าในฐานะใดควรได้รับการปกป้องคุ้มครองดูแล การที่รัฐจะบัญญัติกฎหมายหรือการดำเนินการต่าง ๆ ทางกฎหมายที่จะคุ้มครองช่วยเหลือไม่ให้เด็กถูกละเมิดสิทธิ ต้องยึดถือประโยชน์ที่ดีที่สุดของเด็กเป็นสิ่งแรกในการพิจารณา สามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างเสมอภาค และเป็นธรรม (2) ประเทศอังกฤษ มีแนวปฏิบัติและมาตรการที่เหมาะสมในการซักถามเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้เสียหายหรือพยานในระหว่างการสอบสวนคดีอาญา ส่วนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศญี่ปุ่น สามารถสืบพยานที่บันทึกด้วยภาพและเสียงในชั้นสอบสวนเป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้โดยไม่ต้องนำตัวผู้เสียหายหรือพยานไปศาล (3) กฎหมายของประเทศไทยพบปัญหาในการถามปากคำผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็ก เช่น สถานที่ไม่เหมาะสมในการให้ปากคำ ต้องตอบคำถามที่เป็นการทำร้ายจิตใจ ตอบคำถามเรื่องเดิมมากครั้งเกินไป และต้องไปสืบพยานที่ศาลซ้ำอีก (4) ปรับปรุงมาตรฐานการคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้เสียหายในระหว่างการสอบสวน เช่น ประเทศอังกฤษ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศญี่ปุ่น และแก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133ทวิ เพื่อให้การถามปากคำผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13923 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License