กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1414
ชื่อเรื่อง: การเข้าสู่กระบวนการล้มละลายโดยสมัครใจของลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Entering into voluntary bankruptcy process of the natural person debtor
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนินาฎ ลีดส์
จักรพงษ์ โฉมปราชญ์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ธนวัฒน์ เนติโพธิ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
ล้มละลาย
การกู้ยืมส่วนบุคคล
หนี้
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์เรื่อง การเข้าสู่กระบวนการล้มละลายโดยสมัครใจของลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดามีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิวัฒนาการ แนวคิด ทฤษฎี ของกฎหมายล้มละลายเกี่ยวกับการเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย โดยค้นหาสภาพปัญหาที่ลูกหนี้ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการล้มละลายได้โดยสมัครใจและเปรียบเทียบหลักกฎหมายล้มละลายของไทยกับหลักกฎหมายล้มละลายของประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอังกฤษและแนวทางการร่างกฎหมายล้มละลายของ UNCITRAL ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย โดยนำมาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมาย และอุปสรรคที่เกิดขึ้นในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการล้มละลายได้โดยสมัครใจในประเทศไทย เพื่อหาข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงหลักกฎหมายล้มละลายเรื่องการเข้าสู่กระบวนการล้มละลายให้เป็นไปอย่างเหมาะสมกับประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสาร โดยทำการค้นคว้า รวบรวม เอกสารภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ จากตำรา หนังสือ ข้อมูล วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง บทความต่างๆ คดีล้มละลายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ความเห็นของนักนิติศาสตร์ กฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ที่เกี่ยวข้อง และจากทางอินเตอร์เน็ต เพื่อศึกษาการเข้าสู่กระบวนการล้มละลายและหาความสำคัญของการเข้าสู่กระบวนการล้มละลายโดยสมัครใจ รวมทั้งการศึกษาวิเศราะห์เปรียบเทียบ หลักกฎหมาย ของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ และแนวทางการร่างกฎหมายล้มละลายของ UNCITRAL ที่เกี่ยวกับการเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย จากการศึกษาพบว่าการประสบปัญหาทางการเงินจนอยู่ในสภาวะล้มละลายของบุคคลธรรมดามีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ กฎหมายล้มละลายจึงต้องการให้ลูกหนี้สามารถเข้าถึงการเยียวยาของกระบวนการล้มละลายได้โดยเร็วเช่นเดียวกับเจ้าหนี้ เพื่อให้เป็นไปตามแนวคิดที่ต้องการช่วยเหลือลูกหนี้ที่สุจริตแต่ประสบแคราะห์ร้ายทางการเงิน ให้สามารถกลับมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้อีกครั้ง โดยแนวคิดดังกล่าวได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการเริ่มต้นคดีโดยเปิดโอกาสให้ลูกหนี้สามารถเข้าสู่กระบวนการได้โดยสมัครใจหากลูกหนี้นั้นประสบปัญหาทางการเงินจนไม่สามารถจัดการกับหนี้สินนั้นได้ เพื่อให้ลูกหนี้ได้รับการเยียวยาจากกระบวนการล้มละลายไม่ว่าด้วยกระบวนการฟื้นฟูหรือกระบวนการชำระบัญชี และให้ลูกหนี้หลุดพันจากภาระหนี้สินนั้นไปได้โดยเร็วโดยมีการกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมและป้องกันลูกหนี้ให้ไม่สามารถอาศัยกระบวนการทางกฎหมายโดยมิชอบจากกฎหมายล้มละลายดังกล่าว
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1414
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
140595.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons