กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1431
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลเรื่อง การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดให้แก่นักเรียนสำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of a distance training package on learning management to increase student's thinking skills for Thai Language teachers at basic education level
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อภิรักษ์ อนะมาน
คำสำคัญ: ทักษะทางการคิด--กิจกรรมการเรียนการสอน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แหล่งอ้างอิง: วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 10, ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มิ.ย. 2560), หน้า 214-229
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของครูภาษาไทยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดให้แก่ผู้เรียน (2) พัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกล เรื่อง การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดให้แก่นักเรียนสำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภายาไทยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพตามเกณท์ (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของครูด้านความสามารถในการจัดการเรียนรู้ก่อนและหลังการ ใช้ชุดฝึกอบรมทางไกล และ (4) ศึกษากวามพึงพอใจต่อชุดฝึกอบรมทางไกลและกระบวนการฝึกอบรมทางไกลกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูภาษาไทย จำนวน 500 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แบบสอบถาม (2) ชุดฝึกอบรมทางไกล (3) แบบทคสอบวัดผลสัมฤทธิ์ของครูด้านความสามารถในการจัดการเรียนรู้ และ (4) แบบประมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่า (1) ครูภาษาไทยส่วนใหญ่เคยจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ครูเห็นด้วยกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ครูเห็นว่าควรมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดในระดับมาก ครูมีความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดในระดับปานกลาง ครูมีปัญหาในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดในระดับปานกลาง ครูมีความต้องการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการกิดค้านต่าง ๆ ในระดับมาก (2) ชุดฝึกอบรมทางไกล เรื่อง การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดให้แก่นักเรียนสำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80:80 โดยค่า E1 เท่ากับ 81.84 E2 เท่ากับ 81.60 (3) ผลสัมฤทธิ์ด้านความสามารถในการจัดการเรียนรู้หลังการใช้ชุดฝึกอบรมทางไกลของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) ครูผู้เข้ารับการอบรมด้วยชุดฝึกอบรมทางไกลมีความพึงพอใจต่อชุดฝึกอบรมทางไกลและกระบวนการฝึกอบรมทางไกลในระดับมาก
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1431
ISSN: 1905-4653
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Journal Articles

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
44375.pdfเอกสารฉบับเต็ม511.92 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons