กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1471
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพด้านความมั่นคงทางอาหารบ้านแม่สุริน อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Potential strengthen guidelines of food security in Mae Surin Village, Khun Yuam District, Mae Hong Son Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา ธนันชัย มุ่งจิต, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ ความมั่นคงทางอาหาร--ไทย--แม่ฮ่องสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บริบทชุมชนบ้านแม่สุริน (2) ระบบการผลิตและความ มั่นคงด้านอาหารของชุมชน (3) ปัจจัย โอกาส และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้าน อาหารของชุมชน (4) วิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพความมั่นคงด้านอาหารของชุมชน ผลการศึกษาพบวา 1) บริบทของชุมชนบ้านแม่สุรินมีวิถีชีวิตผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมของคน ไทยใหญ คนเมืองและคนกะเหรี่ยง ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก และมีความสัมพันธ์ที่แนบชิดกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แหล่งที่มาของอาหารประกอบด้วย การผลิต แหล่งธรรมชาติและหัวไร่ปลาย นา การซื้อ และการแบ่งปันหรือทางวัฒนธรรมประเพณี 2) ชุมชนมีแนวความคิดต่อความมั่นคงทางอาหาร คือ การมีอาหารกินตามที่ต้องการอยางเพียงพอและยั่งยืน มีแหล่งอาหารที่หลากหลายจากธรรมชาติ สามารถหากินได้ ตลอดปีตามฤดูกาล การมีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้เพียงพอสำหรับซื้อหาอาหารที่มีความจำเป็น รวมถึงมี ศักยภาพในการจัดการอาหารอย่างเหมาะสม มีวัฒนธรรมหรือรูปแบบการกนตามภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) ปัจจัย เงื่อนไขที่เป็นความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางอาหาร ประกอบด้วย ศักยภาพและการเปลี่ยนแปลงในระบบ การเกษตรต่อการผลิตอาหาร รูปแบบการใช้ประโยชน์และการเปลี่ยนแปลงของแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ รายได้ และศักยภาพในการเข้าถึงหรือหาซื้ออาหารที่ต้องการ การคงอยู่และการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรมประเพณี และการแบ่งปัน 4) ข้อเสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้างศักยภาพความมั่นคงด้านอาหารของชุมชน ประกอบด้วย การเสริมศักยภาพชุมชนในการจัดการแหล่งอาหารตามธรรมชาติ การเสริมศักยภาพชุมชนในการ ผลิตพืชอาหารหลักที่มีความปลอดภัย เพียงพอและหลากหลาย การเสริมศักยภาพชุมชนด้านการจัดการอาหาร ผ่านวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น การเสริมศักยภาพชุมชนในวิถีการบริโภคอยางรู้เท่าทัน และการเสริมศักยภาพบุคลากร ในชุมชน ให้มีกลไกในการเฝ้าระวังความมั่นคงทางด้านอาหารของชุมชน ตลอดจนการสร้างการเรียนรู้เรื่องความ มั่นคงทางอาหารให้กับคนอื่นๆ ในชุมชน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1471 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
130285.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 23.98 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License