กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1494
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์มูลค่าเศรษฐกิจของระบบนิเวศป่าชายเลนในจังหวัดสมุทรสงคราม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | An analysis of economic values of mangrove ecosystem in Samut Songkhram Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์ นิธิตา เร้าเลิศฤทธิ์, 2535- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เรวดี จรุงรัตนาพงศ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ ป่าชายเลน--แง่เศรษฐกิจ ป่าชายเลน--ไทย--สมุทรสงคราม |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินมูลค่าจากการใช้ทางตรงของป่าชายเลนด้านการ ประมง 2) วิเคราะห์ตัวแปรที่มีผลต่อปริมาณการผลิตและรายได้สุทธิของชาวประมงที่อาศัยพึ่งพาป่าชายเลน วิธีการศึกษาคือการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์ชาวประมงพื้นบ้านรวมทั้งหมด 135 ราย ซึ่งประกอบด้วยชาวประมงในตำบลคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นตัวแทน ของพื้นที่ที่มีป่าชายเลนอุดมสมบูรณ์ ตำบลบางแกวซึ่งเป็นตัวแทนของพื้นที่ป่าชายเลนเสื่อมโทรแต่มีการ ปลูกเสริมบางส่วน และตำบลบางจะเกร็งซึ่งเป็นตัวแทนของพื้นที่ป่าชายเลนเสื่อมโทรม ในจังหวัด สมุทรสงคราม ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นำมาวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลองฟังก์ชันการผลิต (Production Function) และแบบจำลองฟังกชันกำไร (Profit Function) โดยแบ่งสัตว์น้ำที่จับได้แบ่งเป็น 2 ประเภทตาม การดำรงชีวิตคือ 1) กลุ่มสัตว์น้ำที่ใช้ชีวิตตลอดวงจรชีวิตอยู่บริเวณป่าชายเลน และ 2) กลุ่มสัตว์น้ำที่อยู่ บริเวณป่าชายเลนในบางช่วงของวงจรชีวิต เพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของสัตว์น้ำกับป่าชายเลน ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มสัตว์น้ำในกลุ่มแรก ส่วนใหญ่สามารถจับได้ในพื้นที่ป่าชายเลน และห่างจากชายฝั่งไม่เกิน 1.5 กิโลเมตร และกลุ่มสัตว์น้ำกลุ่มที่สอง สามารถจับในเขตทะเลเปิดหรือห่าง จากชายฝั่งประมาณ 1.5 กิโลเมตร 2) ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ต่อครัวเรือนเฉลี่ย 48,053.04 กิโลกรัมต่อปี โดยตำบลที่มีปริมาณการจับน้อยที่สุดคือตำบลคลองโคนเฉลี่ย 9,386.20 กิโลกรัมต่อปี ตำบลบางจะเกร็ง จับได้เฉลี่ย 19,113.47 กิโลกรัมต่อปี และตำบลบางแกวมีปริมาณการจับมากที่สุดเฉลี่ย 19,533.37 กิโลกรัม ต่อปี 3) ยิ่งการจับสัตว์น้ำห่างจากชายฝั่งมากรายได้สุทธิของชาวประมงยิ่งสูงขึ้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะสัตว์ น้ำที่จับได้ส่วนใหญ่เป็นสัตว์น้ำที่อยู่ในกลุ่มที่ 2 ซึ่งมักเป็นสัตว์น้ำที่มีราคาตลาดสูง โดยเปรียบเทียบแล้ว รายได้สุทธิในตำบลคลองโคนจึงต่ำแม้ว่าจะมีพื้นที่ป่าชายเลนที่สมบูรณ์เนื่องจากสัตว์น้ำที่จับได้ส่วนใหญ่ จะอยูในกลุ่มที่ 1 มีราคาในตลาดตำ่กว่า โดยรายได้ของตำบลคลองโคนอยูที่ ่ 200,000 บาทต่อปี เท่านั้น ซึ่ง เท่ากับรายได้สุทธิในตำบลบางแก้ว ส่วนชาวประมงในตำบลบางจะเกร็งที่มีรายได้เฉลี่ยสุทธิสูงกว่าคือ เท่ากับ 500,000 บาทต่อปี ทั้งนี้เนื่องจากสัตว์น้ำที่ชาวประมงในตำบลบางจะเกร็งจับส่วนใหญ่เป็น ประเภทสัตว์น้ำกลุ่มที่ 2 ที่มีราคาตลาดสูง อาทิ ปู กุ้ง กั้งและแมงดา |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.(เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1494 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_159690.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.79 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License