กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1502
ชื่อเรื่อง: การจัดกิจกรรมห้องสมุดโรงเรียนต้นแบบโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Organization of activities in libraries of model schools, the reading habits promotion project in Primary Kamphaeng Phet Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทัศนา หาญพล
รุ่งรุจี ศรีดาเดช, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อมรรัตน์ ภิญโญอนันตพงษ์
ธนรัชฏ์ ศิริสวัสดิ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ห้องสมุดโรงเรียน--กิจกรรมการเรียนการสอน
การส่งเสริมการอ่าน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา ปัจจัย แนวทางในการจัดกิจกรรม ห้องสมุดและความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมห้องสมุดโรงเรียนต้นแบบโครงการ ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านระดับประถมศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กำแพงเพชร เขต 1 วิธีดําเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์เอกสารโครงการ การสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรที่ศึกษา คือครูบรรณารักษ์ จํานวน 10 คน จากโรงเรียนต้นแบบ จํานวน 10 โรงเรียน ขั้นตอนที่ 2 เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน โรงเรียนละ 30 คน จํานวน 300 คน ได้จากการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึก ข้อมูล แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพและปัญหาในการจัดกิจกรรมห้องสมุดโรงเรียนต้นแบบ คือ โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่อง มีการดําเนินการตามขั้นตอน PDCA แต่พบปัญหาในการจัดกิจกรรม ได้แก่ งบประมาณน้อย ขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ (2) ปัจจัยที่ส่งผลให้ประสบความสําเร็จ คือมีนโยบายในการจัดทําโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอย่างต่อเนื่อง กำหนดวัตถุประสงค์และผู้รับผิดชอบโครงการ ได้รับงบประมาณสนับสนุน ดําเนินงานตามขั้นตอนอย่างชัดเจน รูปแบบกิจกรรมห้องสมุดที่จัดจําแนกตามประเภทของกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมซึ่งเร้าโสตประสาท เร้าจักษุประสาทเร้าโสตและจักษุประสาทในขณะเดียวกัน และให้ผู้ เป็นเป้าหมายหรือนักเรียนได้ร่วมด้วย (3) แนวทางในการดําเนินงาน คือ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับครู ผู้ปกครองบูรณาการกิจกรรมกับการเรียนการสอนและของบประมาณสนับสนุนจากชุมชน เช่น ผู้ปกครองร้านค้าในชุมชน (4) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1502
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib159394.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons