กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1555
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับบทบาทของพนักงานคุมประพฤติด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่ถูกคุมประพฤติ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to probation officers’ roles in promoting family participation towards solving and rehabilitating children and youth in probation
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิตตินันท์ เดชะคุปต์
สามารถ วงศ์มติกุล, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
จินตนา ธนวิบูลย์ชัย
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม--วิทยานิพนธ์
พนักงานคุมประพฤติ
การคุมประพฤติ--การมีส่วนร่วมของบิดามารดา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการปฏิบัติตามบทบาทของพนักงานคุมประพฤติด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่ถูกคุมประพฤติ (2) ระดับประสิทธิผลของการปฏิบัติตามบทบาทของพนักงานคุมประพฤติด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการแก้ไขฟื้นฟุเด็กและเยาวชนที่ถูกคุมประพฤติ และ (3) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับบทบาทของพนักงานคุมประพฤติด้านส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่ถูกคุมระพฤติ ผลการวิจัย พบว่า (1) พนักงานคุมประพฤติส่วนใหญ่มีระดับการปฏิบัติตามบทบาทด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยวชนที่ถูกคุมประพฤติ อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 55.1 (2) พนักงานคุมประพฤติส่วนใหญ่มีระดับประสิทธิผลของการปฏิบัติตามบทบาทด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่ถูกคุมประพฤติอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 50.0 (3) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับบทบาทของพนักงานคุมประพฤติด้านการส่งเสริมครอบครัวให้มีส่วนร่วมในการแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่ถูกคุมประพฤติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แบ่งเป็น 2 ประเด็น คือ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับการปฏิบัติตามบทบาทของพนักงานคุมประพฤติ ได้แก่ ประสบการณ์การปฏิบัติงานแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด ภารกิจงานที่รับผิดชอบ ปริมาณคดีที่รับผิดชอบ ทักษะการปฏิบัติงานคุมประพฤติเด็กและเยาวชน และเจตคติ่อลักษณะงานคุมประพฤติ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับประสิทธิผลของการปฏิบัติตามบทบาทของพนักงานคุมประพฤติ ได้แก่ เพศ ประสบการณ์การปฏิบัติงานแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด ภารกิจงานที่รับผิดชอบ ปริมาณคดีที่รับผิดชอบ ทักษะการปฏิบัติงานคุมประพฤติเด็กและเยาวชน และเจตคติต่อลักษณะงานคุมประพฤติ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การพัฒนาครอบครัวและสังคม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1555
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Hum-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext 160603.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons