Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1563
Title: | พฤติกรรมการซื้อและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไหมในตลาดผ้านาข่า อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี |
Other Titles: | Buying behavior and selling of silk products in Nakha cloth market, Mueang Udon Thani District, Udon Thani Province |
Authors: | อัจฉรา โพธิ์ดี, อาจารย์ที่ปรึกษา สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา นภาพร พรหมปู่, 2526- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์ ผ้าไหมไทย การขาย |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของผู้บริโภค 2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหม 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหม4) การประกอบธุรกิจของผู้จาหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไหม 5) การจาหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไหม และ 6) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมในตลาดผ้านาข่า อาเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว/เจ้าของกิจการ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาท 1) ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ ชอบโทนสีดามากที่สุดเนื่องจากอยู่ในช่วงของการไว้ทุกข์ถวายในหลวงรัชกาลที่ 9 ส่วนใหญ่ซื้อเสื้อผ้าสาเร็จรูป สนใจประเภทผ้ามัดหมี่ เป็นการซื้อเพื่อใช้เอง ปริมาณการซื้อ 1-2 ชิ้นต่อครั้ง ตัดสินใจซื้อจากลวดลายผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ค่าใช้จ่ายในการซื้อ 1,501-3,000 บาทต่อครั้ง เพื่อนและตนเองเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการซื้อ 2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดมีความสาคัญต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของผู้บริโภคอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทุกด้าน4) ในด้านผู้จาหน่ายส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-50 ปี และดาเนินการค้าในตลาดผ้านาข่ามาแล้ว 6-10 ปี การประกอบธุรกิจของผู้จาหน่ายส่วนใหญ่เป็นร้านค้าเจ้าของคนเดียว สินค้าที่มียอดขายมากที่สุดคือผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย เดือนที่ยอดขายสูงสุดคือเดือนมกราคม ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมที่นามาจาหน่ายผลิตในจังหวัดอุดรธานีโดยซื้อจากผู้ผลิต 1-2 ราย ตัดสินใจเลือกซื้อจากแหล่งผลิตดังกล่าวเพราะคุณภาพการทอ5)ประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าไหมที่จาหน่ายส่วนใหญ่คือเสื้อผ้าสาเร็จรูป สีที่ขายดีที่สุดคือสีดา ผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ ราคาขายตั้งจากต้นทุนบวกกาไรที่ต้องการ ไม่มีการผ่อนชาระค่าสินค้าและมีบริการหลังการขาย6) ปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของผู้บริโภคคือ ผลิตภัณฑ์มีจานวนน้อย มีราคาแพงเกินไป การจัดแสดงสินค้าไม่เป็นหมวดหมู่ ข้อเสนอแนะคือ ควรมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าไหมที่ทันสมัย มีสินค้าให้เลือกหลากหลายระดับราคา มีป้ายบอกราคาชัดเจน มีการขายผ่านช่องทางอื่น เช่น ขายทางอินเทอร์เน็ต และมีบริการจัดส่งสินค้าทางไปรษณีย์ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1563 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
158749.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License