Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1588
Title: | ความสามารถด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ของสาธารณสุขอำเภอในเขตตรวจราชการการสาธารณสุขที่ 5, 6, 7 |
Other Titles: | Strategic management competency of district health officials of the public health supervisory region 5, 6, and 7 |
Authors: | เยาวภา ปิ่นทุพันธ์ สมบูรณ์ จันทร์สว่าง, 2503 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --วิทยานิพนธ์ สาธารณสุข--การบริหาร การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ความสามารถทางการบริหาร |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | สาธารณสุขอำเภอรับผิดชอบการนิเทศงานระด้บอำเภอของสถานีอนามัยและศูนย์สุขภาพชุมชน และการประสานงานสาธารณสุขของอำเภอ โดยใช้ความสามารถในการบริหารเชิงกลยุทธ์และทักษะด้านการบริหาร การวิจัยนี้มีความมุ่งหวังเพื่อ สำรวจความสามารถในการบริหารเชิงกลยุทธ์ตามการประเมินตนเองของ สาธารณสุขอำเภอในประเด็น ความ(ด้านการวิเคราะห์ การกำหนด การดำเนินการ และการควบคุมกลยุทธ์ โอกาสการนำความรู้ไปใช้และการประยุกต์ความรู้ในการปฐบัติงาน รวมทั้งทักษะด้านภาวะชี้นำและการสื่อสาร และศึกษาความแตกด่าง ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความสามารถในการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม การดำเนินงานใช้การวิจัยเชิงสำรวจในการศึกษาสาธารณสุขอำเภอในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 5 6 และ7จำนวน 100 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามเชิงสารสนเทศเกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ได้รับการ ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และทดสอบความเชื่อมั่น (ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.9545) อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามทางไปรษณีย์เท่ากับรัอยละ 100 การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป พรรณนาลักษณะของตัวแปรเป็นรัอยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กำหนดระดับความรู้ทักษะ โอกาสนำความรู้ไปปฎิบัติ และการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน เป็น 5 ระดับ (จากนัอยที่สุดไปหามากที่สุด) และกำหนดระดับความสามารถเป็น 3 ระดับ (สูง ปานกลาง และต่ำ) และหาความ สัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาด้วยการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียวผลการศึกษาพบว่า (1) สาธารณสุขอำเภอมีควานสามารถในการบริหารเชิงกลยุทธ์ในภาพรวมและเป็นรายด้านของการวิเคราะห์การกำหนด การดำเนินการ และการควบคุมกลยุทธ์ อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความรู้ที่เกี่ยวข้อง โอกาสนำความรู้ไปใช้ และการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง (2) สาธารณสุขอำเภอมีความรู้เฉลี่ยเรื่องการวิเคราะห์ความแตกด่างของการบริหารคุณภาพโดยรวม และการเทียบวัด อยู่ในระดับต่ำกว่าเรื่องอื่น ๆ (3) สาธารณสุขอำเภอมีทักษะด้านภาวะชี้นำและการสื่อสารอยู่ในระตับสูง ชี่งการเปิด โอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชา แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ และความสามารถถ่ายทอดนโยบายไปสู่ผู้ใต้บังคับบัญชา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และ (4) สาธารณสุขอำเภอที่มีความแตกต่างกันในเรื่องอายุ เงินเดีอน สถานภาพ สมรส การศึกษา อายุราชการ ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง และจำนวนบุคลากรภายใต้การนิเทศมีความสามารถในการบริหาร เชิงกลยุทธ์ไม่แตกด่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติความรู้เฉลี่ยในระดับปานกลางเกี่ยวกับเครื่องมือสำคัญในการบริหารเชิงกลยุทธ์ของสาธารณสุขอำเภอ บ่งบอกถึงความด้องการการฝึกอบรมและการส่งเสริมโอกาสในการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2548 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1588 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License