กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1589
ชื่อเรื่อง: | การเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องบรรจุหลอดบีบสำหรับเครื่องสำอางโดยการประยุกต์ใช้เครื่องมือคุณภาพ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Quality process improvement of cosmetic tube filling machine by applying QC tool |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุภาวดี ธีรธรรมากร พูลพิศ นามปั่น, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สมบัติ ทีฆทรัพย์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม--วิทยานิพนธ์ บรรจุภัณฑ์--การผลิต ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง--มาตรฐาน |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหาสาเหตุที่ทำให้เกิดหลอดเสียในกระบวนการบรรจุเครื่องสำอางด้วยเครื่องบรรจุหลอดบีบโดยใช้เครื่องมือคุณภาพ และ (2) ลดปัญหาหลอดเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการบรรจุเครื่องสำอางเมื่อปรับกระบวนการบรรจุของเครื่องบรรจุหลอดบีบ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองของเครื่องบรรจุหลอดบีบอัตโนมัติสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง หลอดบีบที่ใช้เป็นหลอดรี เนื่องจากพบจำนวนของเสียมากกว่ามาตรฐานที่กำหนดขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วย การศึกษากระบวนการผลิตเครื่องสำอางโดยใช้หลัก 3 จริง เก็บรวบรวมข้อมูลของเสียโดยใช้แผ่นตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูลของเสียเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาโดยใช้แผนภูมิพาเร โต วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วยแผนภูมิก้างปลา ดำเนินการพิสูจน์สาเหตุโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ปัญหาโดยการตั้งคำถาม 6 ข้อ (5W1H) และเทคนิคการออกแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียลเต็มรูปแบบ สำหรับ 3 ปัจจัย (8 การทดลอง) และทำการทดลองซ้ำอีกครั้งรวม 16 การทดลอง เพื่อหาปัจจัยในการปรับตั้งเครื่องจักรที่ทำให้เกิดของเสียน้อยที่สุด ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดของเสีย คือ ลักษณะปลายหลอด ความเร็วเครื่องบรรจุและรูปแบบการรองรับหลอด ก่อนการดำเนินการแก้ไขพบของเสียร้อยละ 2.14 ของจำนวนการผลิต ภายหลังจากการปรับกระบวนการบรรจุของเครื่องบรรจุหลอดบีบ ของเสียลดลงเหลือร้อยละ 0.09 ของจำนวนการผลิต นอกจากนี้การวิเคราะห์ค่าดัชนีวัดความสามารถของกระบวนการผลิตพบว่า ค่าดัชนีวัดศักยภาพของกระบวนการในระยะยาวและค่าดัชนีวัดสมรรถนะของกระบวนการในระยะยาวหลังการปรับปรุงมากกว่าก่อนการปรับปรุงแก้ไขและมีค่ามากกว่า 1 แสดงถึงความสามารถของกระบวนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตที่วัดได้หลังการปรับปรุงเพิ่มขึ้นอย่างมากถึงร้อยละ 71 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีอุตสาหกรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1589 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Science Tech - Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
164563.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.56 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License