กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1601
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการสื่อสารในการถ่ายทอดภูมิปํญญาท้องถิ่นของกลุ่มทอผ้าไหมยกทองจันทร์โสมา จังหวัดสุรินทร์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Communication model for transferring local wisdom of gold brocade textile Chan Soma Group of Surin Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิทยาธร ท่อแก้ว ธมนพัชร์ ศรีษะพลภูสิทธิ, 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา กมลรัฐ อินทรทัศน์ นิภากร กำจรเมนุกูล |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ กลุ่มทอผ้าไหมยกทองจันทร์โสมา จังหวัดสุรินทร์ การสื่อสาร--แง่สังคม ภูมิปัญญาชาวบ้าน--การสอน ผ้าไหม--ไทย--สุรินทร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มทอผ้าไหมยกทองจันทร์โสมา จังหวัดสุรินทร์ เกี่ยวกับ 1) บริบทการสื่อสาร 2) กระบวนการสื่อสาร 3) แนวทางการพัฒนารูปแบบการสื่อสาร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกต เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง จากปราชญ์ชาวบ้านของกลุ่มจันทร์โสมาที่มีความรู้ ประสบการณ์ในการทอผ้าไหมยกทองไม่ตํ่ากว่า 10 ปี ได้แก่ ผู้ดูแลกลุ่ม เลขานุการกลุ่ม ผู้จัดการโรงทอ ช่างทอผ้า นักวิชาการ และ ผู้ปฏิบัติงานสื่อพื้นบ้าน รวมจํานวน 13 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบการสนทนากลุ่ม และแบบสังเกตการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า 1) บริบทการสื่อสาร ด้านลักษณะชุมชนมีความเข้มแข็งและโดดเด่นในการทอผ้าไหมและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญของจังหวัดสุรินทร์ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และทอผ้า และรับจ้างทอผ้าเป็นอาชีพเสริม การก่อตั้งกลุ่มทอผ้าไหมเกิดจากการรวมตัวกนโดยมีอาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ประธานกลุ่ม ซึ่งเป็นผู้นําที่เข้มแข็งได้รวบรวมช่างทอที่มีฝีมือด้านการทอผ้าไหมยกทองและพัฒนาจน เป็นกลุ่มที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน ด้านสภาพเศรษฐกิจสร้างรายได้จากการจําหน่ายผ้าไหม มีการถ่ายทอดกรรมวิธี การผลิตผ้าไหมมาจากบรรพบุรุษ ผ่านกระบวนการเรียนรู้จากรุ่นสู่รุ่น เป็นสังคมชนบทที่มีวัฒนธรรมแบบพึ่งพา ซึ่งกันและกัน 2) กระบวนการสื่อสาร มีผู้ส่งสาร คือ ปราชญ์ชาวบ้านของกลุ่มจันทร์โสมา นักวิชาการ และ ผู้ปฏิบัติงานด้านสื่อพื้นบ้าน ส่วนสาร คือ กระบวนการการผลิต การสืบทอด การประยุกต์ ผ่านช่องทาง คือ สื่อ บุคคล สื่อวัตถุที่เป็นผลิตภัณฑ์ สื่อเฉพาะกิจ และสื่อกิจกรรมการปฏิบัติ โดยมีกลุ่มผู้รับสาร คือ สมาชิกใน ครอบครัว สมาชิกในกลุ่ม นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานสื่อพื้นบ้าน และประชาชนทั่วไป 3) แนวทางการพัฒนา รูปแบบการสื่อสาร ต้องพัฒนาการสื่อสารใน 3 ขั้นตอน คือ ขั้นการผลิต ผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาที่เป็นปราชญ์ ชาวบ้านมุ่งเน้นใช้สื่อบุคคลผ่านการสนทนา การสอน การอธิบาย การสาธิต การให้ทดลองทํา และการชมสื่อวีดิทัศน์ ขั้นการสืบทอด เน้นใช้สื่อบุคคล สื่อกิจกรรมการปฏิบัติ ใช้วิธีการผสมผสานระหว่างการสอน แบบบอกเล่า และการปฏิบัติจริงเป็นกลุ่มเพื่อผลัดเปลี่ยนกันสอนและถ่ายทอดในเรื่องที่ตนเองถนัด และขั้นการประยุกต์ เน้นการใช้สื่อวัตถุที่เป็นผลิตภัณฑ์ การร่วมกันประชุมเพื่อปรึกษาหารือในแนวทางการปรับประยุกต์เพื่อให้เกิดคุณค่า และมูลค่า ส่วนวิธีการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมต้องใช้ในทุกขั้นตอนตั้งแต่การร่วมคิด ร่วมกำหนดนโยบาย ร่วมดําเนินการ ร่วมจัดสรรแบ่งปันผลประโยชน์ และร่วมติดตามประเมินผล |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1601 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Comm-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib162529.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.16 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License