กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1606
ชื่อเรื่อง: | การสื่อสารธรรมะผ่านโครงการค่ายอบรมคุณธรรม จริยธรรมเด็กและเยาวชนของวัดไทรงาม (ป่า) จังหวัดกำแพงเพชร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Dhamma communication in the Morals and Ethics Training Camp for Children and Youth Project at Wat Sai-Ngam (ฺฺBa), Kamphaeng Phet Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ วาสนา ยุทธชุม, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การสื่อสารระหว่างบุคคล--แง่ศาสนา |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการสื่อสารเพื่อการเผยแผ่ธรรมะ 2) กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการเผยแผ่ธรรมะ 3) อุปสรรคในการสื่อสารเพื่อการเผยแผ่ธรรมะ 4) ความเข้าใจในเนื้อหาธรรมะและ 5) ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมในโครงการค่ายอบรมคุณธรรม จริยธรรมเด็กและเยาวชนของวัดไทรงาม (ป่ า) จังหวัดกำแพงเพชร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ พระวิทยากร จํานวน 6 รูป โดยการเลือกแบบเจาะจงและกลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กและเยาวชนที่เคยผ่านการอบรมโครงการค่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรมจํานวน 400 คน โดยการ สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสื่อสารธรรมะประกอบด้วย พระวิทยากรที่มีความรู้ ทั้งทางโลกและทางธรรม มีทักษะในการสื่อสาร มีจิตวิทยาในการสื่อสาร มีเทคนิคการถ่ายทอด ในภาษาที่เข้าใจง่าย มีความสํารวมน่าเชื่อถือ สารได้แก่ เนื้อหาเกี่ยวกับพุทธประวัติ ธรรมะ ศาสนพิธี การทําสมาธิ สื่อมีทั้งสื่อบุคคล สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อใหม่ สื่อพิธีกรรม ผู้รับสารคือ เด็กและเยาวชน อายุระหว่าง 13-18 ปี ที่เคยอบรมโครงการนี้มาแล้ว 1 ครั้ง ชื่นชอบกิจกรรมแปลกใหม่ 2) กลยุทธ์การ สื่อสารได้แก่กลยุทธ์การใช้สื่อ คือเสียงดนตรี เพลง ภาพนิ่ง พาวเวอร์พอยท์ วีดิทัศน์ วัตถุจําลอง สื่อใหม่ และกลยุทธ์การใช้สารทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา 3) อุปสรรคในการอบรม คือ พระวิทยากร ที่มีความรู้และทักษะในการอบรมมีไม่เพียงพอ สื่อมีจํานวนน้อยและขาดความสมบูรณ์ด้านเทคนิคสาร ไม่สอดคล้องกับอายุของผู้เข้าอบรม ผู้รับสารบางส่วนขาดความสนใจในการอบรม จดจ่ออยู่กับ โทรศัพท์ 4) เด็กและเยาวชนมีความเข้าใจในเนื้อหาธรรมะในระดับมาก และ 5) เด็กและเยาวชนมีความพึงพอใจต่อการจัดอบรมโครงการค่ายธรรมะในระดับมาก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1606 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Comm-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib159366.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.79 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License