กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1609
ชื่อเรื่อง: ภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวประเทศไทยในมุมมองของชาวอเมริกัน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Image of Thai tourism : an American perspective
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สันทัด ทองรินทร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อังศุมา เที่ยงประเทศ, 2531-
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การท่องเที่ยว -- ไทย
ภาพลักษณ์องค์การ -- การประชาสัมพันธ์
การรับรู้
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวประเทศไทย (2) การรับรู้ข่าวสารด้านการท่องเที่ยวประเทศไทย (3) ภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวประเทศไทย (4) เปรียบเทียบลักษณะทางประชากรกับภาพลักษณ์ ด้านการท่องเที่ยวประเทศไทย และ (5) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสารกับภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวประเทศไทยในมุมมองของชาวอเมริกัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนชาวอเมริกันที่อยู่ ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย จํานวน 400 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือ การวิจัย คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และ ค่าไคแสควร์ ผลการวิจัย พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยเปิดรับข่าวสารการท่องเที่ยวประเทศไทยจากโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล เพื่อน ป้ายโฆษณา สื่ออินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ก และกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ เช่น นิทรรศการ มากที่สุด และรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว มากที่สุด (2) กลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้ ข้อมูลการท่องเที่ยวประเทศไทยอยู่ในระดับปานกลาง (3) ภาพลักษณ์ ด้านการท่องเที่ยวประเทศไทยในมุมมองของ ชาวอเมริกันมลรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยรวมอยูในระดับปานกลาง (4) ประชาชนชาวอเมริกน ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวแตกต่างกัน มีภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวประเทศไทยแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.01 และ (5) การรับรู้ข่าวสารของประชาชนชาวอเมริกัน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวประเทศไทยอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.(นิเทศศาสตร์)--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1609
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib161788.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons