กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1610
ชื่อเรื่อง: | การรับรู้ของบุคลากรต่อภาพลักษณ์ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Personnel's awareness of the image of the Office of the National Anti-Corruption Commission |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปิยฉัตร ล้อมชวการ เกวลิน หอมหวล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา กมลรัฐ อินทรทัศน์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบูรณาการการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์ ภาพลักษณ์องค์การ องค์การ--การประชาสัมพันธ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การรับรู้ภาพลักษณ์สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในสายตาของบุคลากร 2) การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ของบุคลากร 3) ความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ของบุคลากร 4) เปรียบเทียบความแตกต่างของการรับรู้ภาพลักษณ์สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามลักษณะประชากรของบุคลากร 5) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์กับการรับรู้ภาพลักษณ์ของบุคลากร และ 6) ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ กับการรับรู้ภาพลักษณ์ของบุคลากรของสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงสํารวจ กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการและลูกจ้างของ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จํานวน 359 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) การรับรู้ภาพลักษณ์ของบุคลากรโดยแยกเป็นด้านค่านิยมและด้านภารกิจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ภาพลักษณ์ด้านค่านิยม เรียงตามลําดับคือ ด้านความซื่อสัตย์ ด้านเป็นธรรม และด้านมืออาชีพ ส่วนการรับรู้ ภาพลักษณ์ด้านภารกิจ พบว่ามีการรับรู้เรียงตามลําดับคือ ด้านป้องกันการทุจริต ด้านการปราบปรามการทุจริต ด้านตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน และด้านการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ 2) การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ ของบุคลากรพบว่าช่องทางที่กลุ่มตัวอย่างเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์เรียงตามลําดับคือ สื่ออินเทอร์เน็ต ได้แก่ สื่อโซเซียลมีเดีย และสื่อเว็บไซด์ของสํานักงาน ป.ป.ช. และสื่อบุคคล ได้แก่ เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ส่วนความถี่ในการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ พบว่าบุคลากรเปิดรับสื่ออินเทอร์เน็ตมีความถี่มากที่สุด รองลงมาคือ สื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อวิทยุกระจายเสียง ตามลําดับ 3) ความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ของบุคลากร พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจเรียงตามลําดับคือ สื่ออินเทอร์เน็ต สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อบุคคล และสื่อสิ่งพิมพ์ 4) ลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกันคือ เพศ อายุ การศึกษา และระดับตําแหน่งส่งผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 5) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์กับการรับรู้ ภาพลักษณ์ของบุคลากรพบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ภาพลักษณ์ คือ เมื่อบุคลากรที่มีการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์มากขึ้น จะทําให้มีการรับรู้ภาพลักษณ์เพิ่มมากขึ้นด้วย และ 6) ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์กับการรับรู้ภาพลักษณ์ของบุคลากรพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ภาพลักษณ์ คือ เมื่อบุคลากรมีความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์มากขึ้น จะทําให้มีการรับรู้ภาพลักษณ์เพิ่มมากขึ้นไปด้วย |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (การบูรณาการการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1610 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Comm-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib165489.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License