กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1617
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนารายการข่าวสารสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะเพื่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ของผู้พิการทางการเห็น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Approaches for developing universally inclusive news and information programs accessible and useful for the visually impaired
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กมลรัฐ อินทรทัศน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปิยฉัตร ล้อมชวการ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อิศวรา ศิริรุ่งเรือง, อาจารย์ที่ปรึกษา.
มนัสชนก สุรชัยกุลวัฒนา, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา.
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
โทรทัศน์กับคนตาบอด
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการเปิดรับ การเข้าถึง ความต้องการ และการใช้ ประโยชน์จากรายการโทรทัศน์ของผู้พิการทางการเห็น 2) สถานการณ์เกี่ยวกับรายการโทรทัศน์เพื่อผู้พิการทาง การเห็น 3) วิธีการที่ใช้ในการพัฒนารายการโทรทัศน์และ 4) เสนอแนวทางการพัฒนารายการโทรทัศน์ การวิจัยเรื่องนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมวิธีคือการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสํารวจ ใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้พิการทางการเห็นจาก 4 ภาคของประเทศไทย จํานวน 120 คน เลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน-มาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิง คุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย จํานวน 22 คน สนทนากลุ่ม กับผู้พิการทางการเห็น จํานวน 8 คน เลือกแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการเปิดรับของผู้พิการทางการเห็น ส่วนใหญ่รับชมรายการโทรทัศน์ ทุกวัน โดยเปิดรับช่วงเช้า 06.00-09.00 น. ช่วงเย็น 16.00-19.00 น. ช่วงคํ่า 19.00-22.00 น. เฉลี่ยไม่เกิน 2 ชั่วโมง รายการที่รับชมคือรายการข่าวสาร รายการความรู้ โดยรับชมเหมือนคนอื่นทั่วไปเนื่องจากไม่มีรายการที่ผู้พิการทางการเห็นสามารถเข้าถึงได้ และต้องการเนื้อหาด้านการศึกษาและความรู้ สิทธิและสวัสดิการ เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อนําไปปรับใช้ในการดําเนินชีวิต ติดตามข้อมูลข่าวสาร และทํากิจกรรมกับกลุ่มต่างๆ 2) สถานการณ์เกี่ยวกับรายการโทรทัศน์พบว่า สถานีโทรทัศน์ทุกสถานีรับรู้ว่า มีประกาศของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ทุกสถานีมีแผนรองรับ แต่มีเพียงบางสถานีที่เริ่มมีการผลิตรายการที่มีเสียงบรรยายภาพแล้ว ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส แต่ยังไม่เพียงพอ ส่วนสถานีโทรทัศน์ช่องอื่นๆ ยังมีความไม่พร้อม 3) วิธีการพัฒนารายการข่าวสารสาระที่มีประโยชน์ต่อสาธารณะมี 2 วิธี คือ (1) การฝังเสียงบรรยายภาพแทรกลงไปในรายการและบรรยายแบบลื่นไหล (2) การเชื่อมโยงระหว่างเสียง บรรยายภาพและการฝังเสียงบรรยายภาพแทรกลงไปในรายการและบรรยายแบบลื่นไหล 4) แนวทางการพัฒนา รายการข่าวสารสาระเพื่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ของผู้พิการทางการเห็น พบปัญหาการขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนารายการข่าวสารสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะเพื่อการเข้าถึงของผู้พิการ จึงต้องมีการทํางานร่วมกันแบบบูรณาการกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ผู้ประกอบ กิจการ สถานีโทรทัศน์ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย และสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและ ผลักดันให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามประกาศการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ได้อย่างเป็นรูปธรรม
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1617
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib160916.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons