กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1623
ชื่อเรื่อง: | การเปิดรับ การรับรู้ ทัศนคติ และความคาดหวัง “โครงการเน็ตประชารัฐ” ของประชาชนจังหวัดจันทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Exposure, perception, attitudes and expectation towards “The Civil-State Internet Program” of Chanthaburi Province’s citizens |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ นฤบาล สำราญจิตต์, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สันทัด ทองรินทร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ โครงการเน็ตประชารัฐ--ความพอใจของผู้ใช้บริการ--ไทย--จันทบุรี |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปิดรับ 2) การรับรู้ 3) ทัศนคติ 4) ความคาดหวัง และ 5) เปรียบเทียบการเปิดรับ การรับรู้ ทัศนคติ และความคาดหวัง “โครงการเน็ตประชารัฐ” ของประชาชนจังหวัดจันทบุรี ตามลักษณะทางประชากร ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับ การศึกษา อาชีพ รายได้ และประสบการณ์ใช้อินเทอร์เน็ต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนจังหวัดจันทบุรี 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยใช้วิธีการของ LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เปิดรับ “โครงการเน็ตประชารัฐ” จากผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน/สมาชิก อบต./เจ้าหน้าที่ อสม./ครู กศน. มากที่สุด โดยเปิดรับ ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านมากที่สุด และเปิดรับเวลา 8.00 น. – 12.00 น. มากที่สุด 2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับรู้ “โครงการเน็ตประชารัฐ” มากที่สุดในเรื่อง “เน็ตประชารัฐ” เป็นอินเทอร์เน็ตไร้สายเพื่อประโยชน์สาธารณะ 3) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อ “โครงการเน็ตประชารัฐ” และทัศนคติต่อประเด็น การใช้สื่อและสารเชิงบวกในระดับเห็นด้วย 4) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคาดหวังต่อ “โครงการเน็ตประชารัฐ” ในระดับเห็นด้วย โดยคาดหวังว่าจะช่วยส่งเสริมช่องทางค้าขาย และเพิ่ม รายได้ประชาชน 5) กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และประสบการณ์ใช้ อินเทอร์เน็ตแตกต่างกัน จะมีการเปิดรับ “โครงการเน็ตประชารัฐ” ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 6) กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และประสบการณ์ใช้อินเทอร์เน็ตแตกต่างกัน มีการรับรู้ “โครงการเน็ตประชารัฐ” ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 7) กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับ การศึกษา อาชีพ รายได้ และประสบการณ์ใช้อินเทอร์เน็ตแตกต่างกัน มีทัศนคติต่อ “โครงการเน็ตประชารัฐ” และการใช้สื่อและสารในการเผยแพร่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 8) กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ แตกต่างกัน มีความคาดหวังต่อ “โครงการเน็ตประชารัฐ” ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 9) ข้อเสนอแนะของประชาชนจังหวัดจันทบุรี ซึ่ง ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับ “โครงการเน็ตประชารัฐ” เห็นว่า ควรปรับปรุงและขยายระบบสัญญาณ เพิ่มช่องทางในการเผยแพร่ รวมถึงส่งเจ้าหน้าที่อบรมการใช้งาน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1623 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Comm-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib161685.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.29 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License