กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1628
ชื่อเรื่อง: ความสำเร็จของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The accomplishment of participation of citizens in community forest management in Ubon Ratchathani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อิศเรศ ศันสนีย์วิทยกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
จีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฐิติพงศ์ ศาสตร์แก้ว, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
ป่าชุมชน -- ไทย -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
ป่าชุมชน -- ไทย -- อุบลราชธานี
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความสำเร็จของการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดการป่าชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน (3) เสนอแนะแนวทางในการนำหลักการมีส่วนร่วมไปใช้ในการจัดการป่าชุมชนเพื่อให้เกิดผลสำเร็จมากยิ่งขึ้นในอนาคต การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือคณะกรรมการป่าชุมชนในท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 4,250 คน ผู้วิจัยสุ่มตัวอย่าง ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ตามสูตรการคำนวณ ของทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวนตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย 366 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน ในแต่ละชั้นภูมิจะใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง โดยเลือกเฉพาะชาวบ้านที่มีตำแหน่งเป็นคณะกรรมการป่า ชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยและการจำแนกชนิดข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผลการวิจัยพบว่า (1) ความสำเร็จของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน ในจังหวัดอุบลราชธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และในแต่ละด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชน ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้นำชุมชน ปัจจัยด้านการได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ซึ่งเป็นปัจจัยเชิงบวก ส่วนปัจจัยเชิงลบได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่ม และปัจจัยส่วนบุคคล ด้านการมีตำแหน่งในกลุ่ม (3) ข้อเสนอ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จมากยิ่งขึ้นในอนาคต ได้แก่ ควรให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม ในด้านร่วมคิด เพราะเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จมากที่สุด ควรพิจารณาเลือกผู้นำที่มีความเข้มแข็ง มีความรู้ ความสามารถ เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน ควรให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ อย่างเพียงพอแก่ชุมชน ควรมีมาตรการจูงใจให้ชาวบ้านหันมาช่วยกันรักษาป่า ควรจัดให้มีกฎหมายป่าชุมชน ควรพัฒนาความร่วมมือในรูปเครือข่ายป่าชุมชน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1628
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib160957.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons