กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1643
ชื่อเรื่อง: | ผลของการให้การปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effect of group counseling to enhance coping behaviors of breast cancer patient receiving chemotherapy in Mahavajiralongkornthunyaburi Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุขอรุณ วงษ์ทิม, อาจารย์ที่ปรึกษา ลัดดาวรรณ ณ ระนอง, อาจารย์ที่ปรึกษา ณัฐวิศา หงส์พิทักษ์ชน, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --วิทยานิพนธ์ การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม มะเร็ง--ผู้ป่วย |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดกลุ่มทดลองก่อนและหลังการการปรึกษาแบบกลุ่ม และ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้ปรึกษาแบบกลุ่มและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด ที่มีคะแนนจากแบบวัดพฤติกรรมการ เผชิญปัญหาต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 50 ลงมา และสมัครใจเข้าร่วมการทดลองจำนวน 16 คน จากนั้นจึงสุ่มอย่างง่ายเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการท าวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการเผชิญปัญหา และ 2) แบบวัดพฤติกรรมการเผชิญปัญหา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .85 กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษาแบบกลุ่มจำนวน 8 ครั้ง ครั้งละ 90–120 นาที กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลแบบปกติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่ามัธยฐาน ค่าเบี่ยงเบนควอไทล์ การทดสอบแมนวิทนีย์และการทดสอบวิลคอกซัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดมีพฤติกรรมการเผชิญปัญหาสูงขึ้น ภายหลังการให้การปรึกษาแบบกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ่ .01 และ 2) ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการเผชิญปัญหาสูงขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1643 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
sulltext_159897.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.51 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License