กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1647
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามเทคนิคตัวแบบสื่อสังคมเพื่อพัฒนาการรับรู้ความสามารถในการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of using a guidance activities package base on social media modeling technique to develop academic self-efficacy of Mathayom Suksa 1 students of Mathayom Wat Thatthong School in Bangkok Metropolis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิรนาท แสนสา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลัลน์ลลิต กันธิยะ, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
การแนะแนว --การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--ไทย--กรุงเทพมหานคร
ความสามารถในการเรียนรู้
สื่อสังคมออนไลน์--การสื่อสาร
พฤติกรรมมนุษย์
สื่อสังคมออนไลน์--แง่จิตวิทยา
ความสามารถในการสื่อสารในเด็ก
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการรับรู้ความสามารถในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง กรุงเทพมหานคร (2) เปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถ ในการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามเทคนิคตัวแบบสื่อสังคมเพื่อพัฒนาการรับรู้ความสามารถในการเรียน (3) เปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถในการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามเทคนิคตัวแบบสื่อสังคมเพื่อพัฒนาการรับรู้ ความสามารถในการเรียน (4) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว ตามเทคนิคตัวแบบสื่อสังคมเพื่อพัฒนาการรับรู้ความสามารถในการเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรี ยนมัธยมวัดธาตุทอง กรุงเทพมหานคร ที่มีการรับรู้ความสามารถในการเรียนต่ำกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 25 ลงมา และสมัครใจเข้าร่วม กิจกรรม จำนวน 60 คน แล้วสุ่มอย้างง่ายอีกครั้งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการเรียน มีค่าความเที่ยง 0.92 (2) คือ ชุดกิจกรรมแนะแนวตามเทคนิคตัวแบบสื่อสังคมเพื่อพัฒนาการรับรู้ความสามารถในการเรียน (3)กิจกรรมแนะแนวปกติ และ (4) แบบประเมินความพึงพอใจเกี่ยวกับชุดกิจกรรมแนะแนวตามเทคนิคตัวแบบสื่อสังคมเพื่อพัฒนาการรับรู้ความสามารถในการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยที่พบ (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง กรุงเทพมหานคร มีการรับรู้ความสามารถในการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง (x=2.18) (2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีการรับรู้ความสามารถในการเรียนเพิ่มมากขึ้นหลังใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามเทคนิคตัวแบบสื่อสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีการรับรู้ความสามารถในการเรียน หลังใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามเทคนิคตัวแบบสื่อสังคม สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ่ .05 (4) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามเทคนิคตัวแบบสื่อสังคมเพื่อพัฒนาการรับรู้ความสามารถในการเรียน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมอยู่ในระดับมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1647
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_159460.pdfเอกสารฉบับเต็ม14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons