Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1653
Title: | ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจในการลดน้ำหนักผ่านการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ในนักศึกษาพยาบาลที่มีภาวะอ้วน |
Other Titles: | The effectiveness of an enhancing motivation program in weight reduction via electronic communication in obese nursing students |
Authors: | สุทธีพร มูลศาสตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา, อาจารย์ที่ปรึกษา อดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์, 2514- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน -- วิทยานิพนธ์ การลดความอ้วน การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจในการลดนํ้าหนักผ่านการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อแรงจูงใจใน การลดนํ้าหนัก พฤติกรรมการลดนํ้าหนัก เส้นรอบเอว และดัชนีมวลกายของนักศึกษาพยาบาลที่มี ภาวะอ้วน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลที่มีภาวะอ้วนในวิทยาลัยพยาบาล ซึ่งถูกเลือกโดย วิธีการลุ่มแบบง่าย เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 ราย เครื่องมีอในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจในการลดนํ้าหนักผ่านการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ พัฒนาขึ้นตามแบบจำลองแรงจูงใจ มีระยะเวลา 8 สัปดาห์ กิจกรรรมประกอบด้วย การให้ความรู้และ ฝึกทักษะการรับประทานอาหารและออกกำลังกายเพื่อลดนํ้าหนัก การใช้แอปพลีเคชั่นไลน์ในการ ทบทวนความรู้ สร้างแรงจูงใจและติดตามพฤติกรรมการลดนํ้าหนัก 2) แบบสอบถามแรงจูงใจในการ ลดนํ้าหนักและพฤติกรรมการลดนํ้าหนัก 3) เครื่องชั่งนํ้าหนัก และ 4) สายวัดรอบเอว แบบสอบถาม แรงจูงใจในการลดน้ำหนักและพฤติกรรมการลดนํ้าหนักมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .92 และ .89 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบราค เท่ากับ .90 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา สถิติที และสถิตินอนพาราเมตริค ผลการวิจัยพบว่า หลังการเช้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจในการลดนํ้าหนักผ่าน การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ นักศึกษาพยาบาลที่มีภาวะอ้วนในกลุ่มทดลองมีแรงจูงใจในการลด นํ้าหนักและพฤติกรรมการลดนํ้าหนักดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าเฉลี่ยเส้นรอบเอวและดัชนีมวลกายนัอยกว่าก่อนเข้าร่วม โปรแกรมและนัอยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1653 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib165223.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 26.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License