กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1653
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจในการลดน้ำหนักผ่านการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ในนักศึกษาพยาบาลที่มีภาวะอ้วน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effectiveness of an enhancing motivation program in weight reduction via electronic communication in obese nursing students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุทธีพร มูลศาสตร์
อดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน--วิทยานิพนธ์
การลดความอ้วน
การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจในการลดนํ้าหนักผ่านการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อแรงจูงใจในการลดนํ้าหนัก พฤติกรรมการลดนํ้าหนัก เส้นรอบเอว และดัชนีมวลกายของนักศึกษาพยาบาลที่มีภาวะอ้วน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลที่มีภาวะอ้วนในวิทยาลัยพยาบาล ซึ่งถูกเลือกโดยวิธีการลุ่มแบบง่าย เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 ราย เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจในการลดนํ้าหนักผ่านการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นตามแบบจำลองแรงจูงใจ มีระยะเวลา 8 สัปดาห์ กิจกรรรมประกอบด้วย การให้ความรู้และ ฝึกทักษะการรับประทานอาหารและออกกำลังกายเพื่อลดนํ้าหนัก การใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ในการทบทวนความรู้ สร้างแรงจูงใจและติดตามพฤติกรรมการลดนํ้าหนัก 2) แบบสอบถามแรงจูงใจในการลดนํ้าหนักและพฤติกรรมการลดนํ้าหนัก 3) เครื่องชั่งนํ้าหนัก และ 4) สายวัดรอบเอว แบบสอบถามแรงจูงใจในการลดน้ำหนักและพฤติกรรมการลดนํ้าหนักมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .92 และ .89 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบราค เท่ากับ .90 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติที และสถิตินอนพาราเมตริค ผลการวิจัยพบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจในการลดนํ้าหนักผ่านการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ นักศึกษาพยาบาลที่มีภาวะอ้วนในกลุ่มทดลองมีแรงจูงใจในการลดนํ้าหนักและพฤติกรรมการลดนํ้าหนักดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าเฉลี่ยเส้นรอบเอวและดัชนีมวลกายนัอยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1653
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib165223.pdfเอกสารฉบับเต็ม26.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons