กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1673
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตข้าวของเกษตรกรในจังหวัดสมุทรปราการ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension guidelines to reducing costs of rice production by farmers in Samut Prakan Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา ศักดิ์สิทธิ์ ศรีวิชัย, 2510- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ ข้าว--การปลูก--การควบคุมต้นทุนการผลิต |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิตข้าวของเกษตรกร 3) การปฏิบัติด้านการลดต้นทุนการผลิตข้าวของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการลดต้นทุนการผลิตข้าว และ 5) แนวทางการส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตข้าว ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตข้าว ระหว่าง 3,500 – 4,000 บาทต่อไร่ เฉลี่ย 3,711.85 บาทต่อไร่ ต้นทุนส่วนใหญ่เป็นค่าเช่านา เฉลี่ย 940.37 บาทต่อไร่ 2) เกษตรกรมีความรู้ในระดับมากในประเด็นใส่ปุ๋ยเคมีในนาข้าว อย่างน้อย 2 ครั้ง ใช้พันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานช่วยลดการระบาดของโรคแมลงศัตรูข้าวได้ และใส่ปุ๋ยเคมีให้เหมาะสมกับสภาพดินและในอัตราที่เหมาะสม 3) เกษตรกรมีการปฏิบัติในระดับมากในประเด็นใช้พันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานต่อโรคแมลง ศัตรูข้าว ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าวที่เหมาะสม ตรงกับชนิดของโรค แมลงศัตรูข้าว และใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ไม่มากเกินไป ช่วยลดความหนาแน่นของต้นข้าว และช่วยลดการระบาดของโรค แมลงศัตรูข้าว 4) เกษตรกรมีปัญหาในระดับมากที่สุดในประเด็นปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าวและวัชพืช และเมล็ดพันธุ์ข้าวมีราคาสูง โดยเกษตรกรเกือบทั้งหมดมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการลดต้นทุนการผลิตข้าวด้านการใช้ปุ๋ยเคมี การป้องกันกำจัดศัตรูข้าวและวัชพืช และด้านการจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวในทุกประเด็น และมีข้อเสนอแนะให้รัฐจัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีให้เกษตรกรปลูกและส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีไว้ใช้เองในกลุ่มหรือชุมชน สนับสนุนชุดตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี และส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทนการใช้สารเคมีอย่างต่อเนื่อง 5) แนวทางการส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตข้าวมี 7 แนวทาง ได้แก่ (1) การควบคุมดูแลอัตราค่าเช่านาให้อยู่ในราคาที่เหมาะสม และเป็นธรรม (2) การพัฒนาองค์ความรู้การผลิตและการจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี (3) การพัฒนาผลิตภาพการผลิตข้าวโดยการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินในนาข้าว (4) การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีเพื่อเก็บไว้ทำพันธุ์เอง (5) การใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน (6) การผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อทดแทนปุ๋ยเคมีหรือร่วมกับปุ๋ยเคมี และ (7) การป้องกันกำจัดศัตรูข้าวโดยวิธีบูรณาการส่วนร่วมของชุมชน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1673 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
159235.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.06 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License