กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1682
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าผักเหมียงของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Package development for value-added of melinjo (Gnetum gnemon L.) of farmer in big field group of Mueag Phuket District in Phuket Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศรัณยู จึงดำรงกิจ, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
บรรจุภัณฑ์--การออกแบบ
ผักเหมียง--การตลาด--ไทย--ภูเก็ต
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และการตลาดของเกษตรกร (2) ปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และพฤติกรรมของผู้บริโภค (3) ปัจจัยทางสังคมของผู้เชี่ยวชาญ (4) ประเมินประสิทธิภาพบรรจุภัณฑ์ผักเหมียงพร้อมปรุง และ (5) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ผักเหมียงพร้อมปรุง ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 58.44 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 1.47 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรและพื้นที่ปลูกผักเหมียงเฉลี่ย 14.65 ไร่ และ 2.74 ไร่ ตามลำดับ มีปริมาณผลผลิตผักเหมียงรวมต่อไร่ต่อปี เฉลี่ย 2,861.90 กิโลกรัม มีเกษตรกรเพียงกึ่งหนึ่งที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน GAP ช่องทางการตลาดจำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรงในตลาดชุมชน ลักษณะการจำหน่ายผลผลิตแบบคละ ราคาขายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.76 บาท (2) ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 34.08 ปี สถานภาพโสด มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.50 คน จบการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 18,543.14 บาท มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ซื้อผักเหมียงจากตลาดนัดในชุมชนเพราะมีความสะดวก มีจำนวนครั้งในการซื้อต่อเดือนเฉลี่ย 2.46 ครั้ง ปริมาณการซื้อในแต่ละครั้งเฉลี่ย 2.72 กำ และพิจารณาแหล่งผลิตก่อนซื้อทุกครั้ง (3) ผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 37.67 ปี จบการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการทำงานด้านการออกแบบเฉลี่ย 10.17 ปี (4) การประเมินประสิทธิภาพบรรจุภัณฑ์ผักเหมียงพร้อมปรุงในภาพรวมโดยเกษตรกรอยู่ในระดับดีมาก ส่วนผู้บริโภคและผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดี และให้คะแนนด้านการอำนวยความสะดวกเป็นอันดับแรก และ (5) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ผักเหมียงพร้อมปรุง ได้แก่ การออกแบบควรทำให้ต้นทุนการผลิตตํ่าที่สุด แต่ยังคงคุณภาพไว้ บรรจุภัณฑ์ควรใช้วัสดุธรรมชาติที่สามารถหาได้จากในชุมชน ควรแบ่งช่องให้ส่วนประกอบต่าง ๆ ในบรรจุภัณฑ์แยกเป็นสัดส่วน เพื่อป้องกันความชื้นจากผักเหมียงและปกป้องส่วนประกอบภายในไม่ให้เคลื่อนไหวไปมา รวมทั้งเพิ่มเอกลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ตลงไปในโลโก้สินค้า เพิ่มลวดลายที่สื่อถึงผลผลิตทางการเกษตร และเพิ่มสีสันให้มีความโดดเด่นสะดุดตากว่าสินค้าอื่น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1682
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159301.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons