กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1691
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงบริหารจัดการของผู้บริหารการพยาบาล ระดับต้นกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The relationship between managerial leadership of first level nursing managers and job satisfaction of professional nurses at Private Hospitals in the Bangkok Metropolis |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | มุกดา หนุ่ยศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา เสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษา อัมภา ศรารัชต์, อาจารย์ที่ปรึกษา บุปผา กิจสหวงศ์, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ การพยาบาล -- การบริหาร โรงพยาบาลเอกชน -- การบริหาร ภาวะผู้นำทางการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนื้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับภาวะผู้นำเชิง บริหารจัดการของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ (2) ระดับความ พึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชิพ และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงบริหาร จัดการของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชิพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ 371 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นจากประชากรที่ เป็นพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการทั้งหมดของโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือ ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูล ส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนที่ 2 แบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงบริหารจัดการของผู้บริหารการ พยาบาลระดับต้น ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากแนวคิดภาวะผู้นำเชิงบริหารจัดการของควินน์และคณะ (2546) และส่วนที่ 3 แบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งผู้วิจัย พัฒนาขึ้นตามแนวคิดทฤษฏีสองปัจจัยของเฮอร์ซเบิร์ก (2502) ความตรงตามเนื้อหาของ แบบสอบถามมีค่า CVI เท่ากับ 0.97 และ 0.98 ตามลำดับ ความเที่ยงของแบบสอบถามจากการหา ค่าครอนบาคแอลฟาเท่ากับ 0.98 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ รัอยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับภาวะผู้นำเชิงบริหารจัดการของผู้บริหารการพยาบาลระดับ ต้นตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ อยู่ในระดับสูง (x-3.75, S.D.=0.62) (2) ระดับความพึงพอใจใน การปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (x-3.8, S.D.=0.50) และ (3) ภาวะ ผู้นำเชิงบริหารจัดการของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง (r=0.638) กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1691 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib105450.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.85 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License