Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1694
Title: การพัฒนาระบบการดูแลผู้ใช้บริการที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง ในการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของสถานพยาบาล สังกัดกรมพลาธิการทหารบก
Other Titles: Development of caring system for hyperlipidemia at Primary Medical Care Services under the Quartermaster Department
Authors: สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล
จุฑารัตน์ มั่นดี, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ธนพร กลิ่นอ่อน
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์
ภาวะไขมันสูงในเลือด--การพยาบาล
บริการการพยาบาล--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงในสถานพยาบาลสังกัดกรมพลาธิการทหารบก ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2549 ถึงเดือนกันยายน 2550 การดำเนินการแบ่งเป็น 2 ระยะได้แก่ ระยะการพัฒนาระบบ โดยการทบทวนวรรณกรรมสัมภาษณ์เจาะลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้แก่ ผู้บริหารระดับนโยบาย ผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการ และการสนทนากลุ่มผู้ให้บริการเพื่อออกแบบระบบการบริการ และระยะการดำเนินงาน เป็นการทดลองใช้ระบบที่พัฒนาขึ้น 5 เดือน ทำการประเมินผลภายหลังจากดำเนินการจากข้อมูลสุขภาพและการสนทนากลุ่มของผู้ใช้บริการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยในระยะการพัฒนาระบบ พบว่า ระบบการดูแลผู้ใช้บริการที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงประกอบด้วย 6 ระบบย่อยที่สำคัญคือ (1) ระบบการคัดกรองสุขภาพ (2) ระบบข้อมูล (3) ระบบการรักษาและการติดตามเพื่อเข้ารับการรักษา (4) ระบบการส่งเสริมสุขภาพในหน่วยงาน (5) ระบบการประเมินผลการรักษา แกะ (6) ระบบส่งต่อผู้ป่วย ผลการวิจัยในระยะการดำเนินงานในระบบใหม่พบว่า (1) ปริมาณผู้ใช้บริการที่แพทย์งดยา เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.22 เป็นร้อยละ 5.11 (2) ปริมาณผู้ใช้บริการที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงบรรลุเป้าหมาย (ระดับ LDL-C≤130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) ลดลงจากร้อยละ 55.81 เป็นร้อยละ 34.66(3) ปริมาณ ผู้ใช้บริการที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงได้รับการรักษาหลังการคัดกรองเพิ่มจากร้อยละ 48.00 เป็นร้อยละ 91.52 (4) ปริมาณผู้ใช้บริการที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงใช้บริการต่อเนื่องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 19.71 เป็นร้อยละ 37.87 (5) อัตรากรอบคลุมการตรวจคัดกรองปี 2550 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 84.93 เป็นร้อยละ 88.75 (6) ผู้ใช้บริการที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง มีความพึงพอใจต่อระบบบริการทั้ง 5 ด้านได้แก่ ความสะดวกต่อ การใช้บริการ สถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ คุณภาพการบริการที่ได้รับ ค่าใช้จ่ายของผู้ไช้บริการ อัธยาศัย ความสนใจของผู้ให้บริการ และระยะเวลาการใช้บริการ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงการจัดบริการแก่ผู้ใช้บริการที่มีปัญหาสุขภาพเฉพาะกลุ่มช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพการบริการ และผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในระบบบริการสูงขึ้น
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1694
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib105452.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.96 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons