กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1695
ชื่อเรื่อง: ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับสมเด็จเจ้าเกาะยอของชุมชนเกาะยอ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Community beliefs and rituals about Somdet Choa Koh Yo in Kho Yo, Kho Yo Sub District Mueang Songkhla District, Songkhla Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมเกียรติ วัฒนาพงษากุล
อินทิรา แก้วขาว, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ประพนธ์ เรืองณรงค์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ความเชื่อ
สมเด็จเจ้าเกาะยอ
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติความเป็นมาและความเชื่อเกี่ยวกับ สมเด็จเจ้าเกาะยอ และ (2) พิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อที่มีต่อสมเด็จเจ้าเกาะยอของชุมชนเกาะยอ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมึอง จังหวัดสงขลา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยการเก็บข้อมูลจากผู้นำชุมชน จำนวน 5 คน ผู้ประกอบพิธีกรรมหรือผู้นำ ศาสนาพุทธ จำนวน 4 คน ชาวบ้านผู้ร่วมพิธีกรรมหรือชาวบ้านที่บนบานต่อสมเด็จเจ้าเกาะยอ จำนวน 10 คน และชาวบ้านในตำบลเกาะยอ 9 หมู่บ้าน จำนวน 18 คน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า สมเด็จเจ้าเกาะยอ เป็นพระสงฆ์ที่เดินทางมาจากกรุงศรีอยุธยาจน มาถึงเกาะยอ และพำนักอาศัย ณ เขากุฎเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิตได้มรณภาพลงที่เขากุฎ ชาวเกาะยอจึงได้สร้างเจดีย์เพื่อบรรจุอัฐิสมเด็จเจ้าเกาะยอ สำหรับความเชื่อเกี่ยวกับสมเด็จเจ้าเกาะยอ จำแนกความเชื่อได้ 2 กลุ่ม คือ (1) ความเชื่อเกี่ยวกับองค์สมเด็จเจ้าเกาะยอประกอบด้วย ความเชื่อเกี่ยวกับบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อเกี่ยวกับปาฏิหาริย์ ความเชื่อเกี่ยวกับวัตถุมงคล ความเชื่อเกี่ยวกับการบนบาน และความเชื่อเกี่ยวกับพิธีแก้บน (2) ความเชื่อกันเนื่องมาจาก พิธีกรรมเกี่ยวกับสมเด็จเจ้าเกาะยอ ประกอบด้วย ความเชื่อเกี่ยวกับการแสดงมหรสพ ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาเทียนสามง่าม ความเชื่อเกี่ยวกับการแห่ผ้าขึ้นเขากุฎ ความเชื่อเกี่ยวกับองค์พระเจดีย์ ความเชื่อเกี่ยวกับการห่มผ้าองค์พระเจดีย์ และความเชื่อเกี่ยวกับรูปเคารพ ส่วนพิธีกรรมเกี่ยวกับสมเด็จเจ้าเกาะยอ ประกอบด้วย พิธีสมโภชผ้า พิธีห่มผ้าองค์พระเจดีย์ และพิธีแก้บน จากการวิเคราะห์คุณค่าที่เกิดจากความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับสมเด็จเจ้าเกาะยอ พบคุณค่าด้านสังคมและวัฒนธรรม คุณค่าด้านศาสนา และคุณค่าด้านเศรษฐกิจ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1695
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
abstract.pdfเอกสารฉบับเต็ม95.74 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons