กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1716
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจกับความพึงพอใจในงาน และผลลัพธ์ทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between empowerment and job satisfaction of professional nurses and their nursing outcomes as perceived by themselves at community hospitals
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พูลสุข หิงคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภมาส อังศุโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา.
สุมล สายอุ่นใจ, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การจูงใจ (จิตวิทยา)
ความพอใจในการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) การเสริมสรัางพลังอำนาจในงานของ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมขน (2) ความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาล ชุมชน (3) ผลลัพธ์ทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน (4) ความสัมพันธ์ระหว่าง การเสริมสรัางพลังอำนาจกับความพึงพอใจในงานและผลลัพธ์ทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ประชากรในการศึกษาคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 25.431 คนกลุ่ม ตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 394 คน ที่ได้จากการกำหนดขนาดกลุ่ม ตัวอย่าง โดยสูตรของ Taro Yamane สุ่มตัวอย่างแบบหลายชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้แก่แบบสอบถามการเสริมสร้างพลังอำนาจความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพและผลลัพธ์ทางการ พยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงและความเที่ยงของแบบสอบถามโดยหา ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามแต่ละส่วน 0.94 0.84 และ 0.86 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป คำนวณหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) การเสริมพลังอำนาจในงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล ชุมชนอยู่ในระดับสูง (2) ความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนอยู่ในระดับสูง (3) ผลลัพธ์ ทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับสูง (4) การเสริมสรัางพลังอำนาจมีความสัมพันธ์ ทางบวกอยู่ในระดับสูง กับความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ (r -0.732 ) และมีความสัมพันธ์ทางบวกใน ระดับปานกลางกับผลลัพธ์ทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ (r- 0.60 ) ที่ระดับนัยสำด้ญทางสถิติ 0.01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1716
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib107366.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons