กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1720
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ : กรณีศึกษาอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors associated with retention of professional nurses in primary care units : a case study of Phipun District, Nakhon Si Thammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัชราพร เกิดมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลักขณา เดชารัตน์, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การพยาบาล -- การบริหาร
พยาบาลวิชาชีพ
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคงอยู่ของพยาบาล วิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยศึกษากรณีอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกและการสนทนากลุ่ม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักในการ สัมภาษณ์เจาะลึกประกอบด้วย (1) ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ผู้บริหารระดับจังหวัด ผู้นำวิชาชีพทางการพยาบาล อาจารย์พยาบาล จำนวน 3 คน (2) ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ซึ่งมีประสบการณ์ในการจัดบริการสุขภาพระดับ ปฐมภูมิ จำนวน 1 คน (3) ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาล ในโรงพยาบาลชุมชน ประกอบด้วย ผู้บริหารทางการ พยาบาล พยาบาลวิชาชีพทั้งที่กำลังปฏิบัติงานและเคยปฏิบัติงานในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ และพยาบาล วิชาชีพที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา จำนวน 7 คน (4) ผู้นำองค์กรท้องถิ่น จำนวน 1 คน และ (5) แกนนำประชาชน ในท้องถิ่น จำนวน 1 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสรัางข้อสรุปของปัจจัย และดำเนินการสนทนากลุ่ม เพื่อยืนยันข้อสรุปที่ได้ 2 ครั้ง ในกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขที่ปฎิบัติงานในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ จำนวน 9 คน และ กลุ่มพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 11 คน ผลการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยที่มีเกี่ยวข้องกับการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานใน หน่วยบริการระดับปฐมภูมิสามารถสรุปได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) คุณสมบัติพื้นฐาน ประกอบด้วย มีความรู้รอบ มีประสบการณ์ ใจรักงานด้านชุมชน เป็นคนในพื้นที่หรือมีครอบครัวอยู่ในพื้นที่ เข้าใจประชาชนเข้ากับ ชุมชนได้ และความรู้และทักษะพื้นฐานไม่เพียงพอต่อการทำงานในชุมชน (2) ปัจจัยส่งเสริม ได้แก่ มี ทีมงานที่ร่วมมือร่วมใจ เครือข่ายสนับสนุนช่วยเหลือ มีโอกาสทำงานที่อิสระและริเริ่มงานได้ด้วยตนเอง ได้รับการยอมรับเป็นคนสำคัญของชุมชน ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม และผู้นำระบบบริการปฐมภูมิเข้า กันได้และ (3) ปัจจัยอุปสรรค ได้แก่ ปัญหาขาดแคลนพยาบาลถูกมองข้าม เครียดกับการปรับเปลี่ยนชีวิตให้ ปฏิบัติงานได้ ถูกทิ้งให้เผชิญปัญหาตามลำพัง การบริหารจัดการเครือข่ายไม่ลงตัว พยาบาลเป็นคนใหม่เข้า กับทีมเดิมไม่ได้ ขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน และ ความก้าวหน้าในวิชาชีพไม่ชัดเจน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1720
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib107611.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons